รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การออกแบบลายผ้าทอพื้นเมืองลวดลายทวารวดีโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองอย่างสร้างสรรค์
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Dvaravati pattern design using the Geometer's Sketchpad (GSP) program to promote the creative development of local woven products
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.แพรภัทร ยอดแก้ว ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Praepat Yodkaew ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลวดลายทวารวดีจากพระธรรมจักรและวัตถุโบราณในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม 2) ออกแบบลวดลายทวารวดีโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) 3) สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบผ้าทอลวดลายทวารวดี โดยนำลวดลายทวารวดีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ ธรรมจักรและวัตถุโบราณของอาณาจักรทวารวดีในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ นำข้อมูลที่ได้มาออกแบบลายผ้าลวดลายทวารวดีมาจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า
1. การศึกษาพระธรรมจักรและวัตถุโบราณในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ พบว่า ลวดลายศิลปะทวารวดีส่วนมากจะเป็นรูปเรขาคณิตเป็นพื้นฐาน คือ วงกลม สี่เหลียมและสามเหลี่ยมที่เกิดจากการแปลงทางเรขาคณิต ได้แก่ การหมุน การสะท้อน การเลื่อนขนาน ทำให้เกิดลวดลายทวารวดีในศิลปกรรมต่างๆ ซึ่งผู้วิจัยได้คัดเลือกลวดลายทวารวดีที่น่าสนใจและเหมาะสมกับการทอผ้า จำนวน 5 ลาย คือ 1) ลายดอกไม้ 2) ลายหัวธนู 3)ลายพืชก้านขด 4) ลายข้าวหลามตัด 5) ลายแท่นธรรมจักร เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบลวดลายและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง
2. โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) สามารถออกแบบลวดลายผ้าทอได้ จำนวน 5 ลาย คือ 1) ลายดอกไม้ 2) ลายหัวธนู 3) ลายพืชก้านขด 4) ลายข้าวหลามตัด 5)ลายแท่นธรรมจักร ซึ่งลวดลายทวารวดีที่ออกแบบสามารถนำไปทอผ้าพื้นเมืองได้
3. ผลิตภัณฑ์ต้นแบบผ้าทอพื้นเมืองลวดลายทวารวดี เกิดจากการนำลวดลายทวารวดีทั้ง 5 ลาย นำมาออกแบบเป็นลายผ้าใหม่ ผ้าทอพื้นเมืองที่ได้จะมีเอกลักษณ์แสดงถึงวัฒนธรรมการทอผ้าพื้นเมืองของจังหวัดนครปฐม ช่วยส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดนครปฐมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
 คำสำคัญภาษาไทย ลายทวารวดี, โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad, การพัฒนาผลิตภัณฑ์, ผ้าทอพื้นเมือง
 Abstract
This research is a qualitative research. The objectives are: 1) To study the Dvaravati pattern from the Dharma Chakra and ancient artifacts in Phra Pathom Chedi National Museum. Nakhon Pathom Province. 2) Dvaravati pattern design using The Gemeter's Sketchpad (GSP) program. 3) Create a prototype of Dvaravati pattern woven fabric by applying Dvaravati patterns in product development. Study from a specific sample group, namely, Thammachak and antiques of the Dvaravati Kingdom in Phra Pathom Chedi National Museum. Use the data obtained for designing Dvaravati pattern fabrics to produce prototype products. Data were analyzed by content analysis.
The results showed that
1. The study of Phra Thammachak and antiques at Phra Pathom Chedi National Museum found that most of the Dvaravati art patterns were geometric as the basis, i.e. circles, rectangles and triangles formed by geometric transformations such as rotation, reflection. parallel shift causing Dvaravati patterns in various arts. The researcher has selected 5 patterns of Dvaravati that are interesting and suitable for weaving, namely: 1. Flower pattern, 2.bow-head pattern, 3. Kan Khot plant pattern. 4. Diamond pattern 5. Thammachak altar pattern for use in designing patterns and developing local woven products
2. The Geometer's Sketchpad (GSP) program can design 5 woven fabric patterns, namely: 1.Flower pattern 2.Bow head pattern 3.Kankow plant pattern. 4. Diamond pattern 5. Thammachak altar pattern. Dvaravati patterns designed can be used to weave local fabrics.
3. Prototype products of local woven cloth with Dvaravati pattern resulting from the adoption of all 5 Dvaravati patterns to design a new fabric pattern. The resulting indigenous fabrics are unique, representing the local weaving culture of Nakhon Pathom Province. Promoting the development of local woven products to create added value for the local woven products of Nakhon Pathom Province and increase sustainable competitiveness.
 Keyword Dvaravati pattern, the Geometer's Sketchpad program, products development, native weave
 กลุ่มของบทความ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565