รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา วิจัยการศึกษาและงานประจำสู่งานวิจัย (R to R)

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Development of the Parcel Management System Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวศุภวรรณ กุศลธรรมรัตน์ , นางสาวปวีณา จารุศิริ, นางสาวนวลหง บุตรพรหม,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Supawan Kusolthammarat , Paweena Charusiri, Nuanlahong Budprom,
 บทคัดย่อภาษาไทย
            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุภายในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และเพื่อประเมินผลการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการงานพัสดุภายในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 113 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรสายสนับสนุนในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 88 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) และสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพรรณนา (Descriptive Statistic) ตารางแจกแจงความถี่ แสดงผลเป็นค่าร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่ (frequency) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
               ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและแนวทางการพัฒนาบริหารงานพัสดุ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยรวมและรายด้านจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจ่ายพัสดุ ด้านการเบิกพัสดุ ด้านการลงบัญชีเพื่อควบคุมพัสดุ และด้านการเก็บรักษาวัสดุ ตามลำดับ 2) ประสิทธิภาพของระบบการบริหารงานพัสดุ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับประสิทธิภาพของระบบการบริหารงานพัสดุจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ และด้านความง่ายต่อการใช้ระบบ ตามลำดับ และ3) ความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบการบริหารงานพัสดุ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบการบริหารงานพัสดุจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ ด้านความง่ายต่อการใช้ระบบ และด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ ตามลำดับ
 คำสำคัญภาษาไทย การพัฒนา,ระบบบริหารงานพัสดุ,งานพัสดุ
 Abstract
          This research is to develop a supply management system within the Faculty of Liberal Arts. Rajamangala University of Technology Phra Nakhon and to evaluate the use of information systems to manage supplies within the Faculty of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Phra Nakhon The population used in this research was personnel in the Faculty of Liberal Arts. Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, 113 people. The sample group used in this research was support personnel in the Faculty of Liberal Arts. Rajamangala University of Technology Phra Nakhon consisted of 88 students using a stratified random sampling method. The instrument used in this study was a questionnaire and the statistics used in the research were descriptive statistics, frequency distribution tables. The results are displayed as percentage, frequency, mean, and standard deviation.
          The results of the study showed that 1) current conditions and guidelines for the development of supplies management Faculty of Arts Rajamangala University of Technology Phra Nakhon Overall and in descending order, i.e. parcel delivery withdrawing of parcels Accounting for parcel control and material storage, respectively; 2) the efficiency of the supplies management system; Faculty of Arts Rajamangala University of Technology Phra Nakhon overall and in each aspect at a high level When sorting the efficiency of the parcel management system in descending order, namely, the security aspect of the information in the system. in terms of meeting the needs of system users Functional aspects according to the system functions and the ease of use of the system, respectively; and 3) the user's satisfaction with the parcel management system. Faculty of Arts Rajamangala University of Technology Phra Nakhon overall and in each aspect at a high level When the user's satisfaction with the parcel management system was arranged in descending order, namely, the aspect of meeting the needs of the users of the system. Security of information in the system Ease of use of the system and the working side according to the system function, respectively.
 Keyword Development Parcel,Management System ,Parcel Work
 กลุ่มของบทความ วิจัยการศึกษาและงานประจำสู่งานวิจัย (R to R)
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565