รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา วิจัยการศึกษาและงานประจำสู่งานวิจัย (R to R)

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Development a Continuous and Linking Curriculum With in Basic Education, Vocational Education and Higher Education under the Regional Education Office 2
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.ดร.ณรงค์ โพธิ , อ.ณัฐธยาน์ โพธิ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Narong Phothi , Nattaya Phothi,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 เป็นการดำเนินงานภายใต้ โครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการใน 5 จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถาม แบบนิเทศติดตาม และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านประเภทของหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงฯ มีจำนวน 2 ประเภท คือ 1.1) หลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอาชีวศึกษา และ 1.2) หลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา 2) ด้านรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงฯ มีจำนวน 2 รูปแบบ คือ 2.1) พัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงฯ โดยทำความร่วมกับสถานศึกษาในพื้นที่ และ 2.2) พัฒนา/นำหลักสูตรระยะสั้นหรือหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมของสถานศึกษาที่มีอยู่มาปรับใช้งาน 3) ด้านความสอดคล้องกับกลุ่มอาชีพตามนโยบาย Thailand 4.0 มีจำนวน 4 กลุ่มอาชีพ คือ 3.1) กลุ่มอาหาร เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 3.2) กลุ่มช่าง เทคโนโลยีบริการยานยนต์ เทคนิคการจัดการอาคาร เครื่องกลเกษตร 3.3) กลุ่มเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กราฟิก มัลติมีเดียและสารสนเทศ และ 3.4) กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ 4) ด้านการนำผลการเรียนที่ได้จากหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงฯ ไปใช้งาน มีจำนวน 3 รูปแบบ คือ 4.1) การนำผลการเรียนที่ได้ไปเทียบสมรรถนะในบางรายวิชาเพื่อลดเวลาเรียนและเทียบโอนหน่วยกิต 4.2) การนำผลการเรียนที่ได้จากรายวิชาสะสมหน่วยกิตไปใช้เพื่อเตรียมเทียบโอนหน่วยกิตในการเข้าศึกษาระดับอาชีวศึกษาหรืออุดมศึกษาเพื่อลดเวลาเรียน และ 4.3) การนำผลการเรียนที่ได้จากการเรียนรายวิชาพื้นฐานที่แสดงสมรรถนะเพื่อใช้ผ่านเข้าไปศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษาหรืออุดมศึกษาที่สอดคล้องกันโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก 5) ด้านขั้นตอนกระบวนการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงฯ มีจำนวน 5 ขั้นตอน คือ 5.1) ขั้นการสร้างทีมงาน 5.2) ขั้นการจัดการข้อมูล 5.3) ขั้นการเพิ่มพูนประสบการณ์ 5.4) ขั้นการนิเทศงานที่ทันสมัย และ 5.5) ขั้นการใส่ใจสะท้อนผล และ 6) ด้านผลการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงฯ มีจำนวน 9 หลักสูตร
 คำสำคัญภาษาไทย หลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยง,การศึกษาขั้นพื้นฐาน,การศึกษาอาชีวศึกษา,การศึกษาอุดมศึกษา
 Abstract
The development a continuous and linking curriculum with in basic education, vocational education and higher education under the regional education office 2 is operating under forum and community promotion project for the model and guidelines for development a continuous and linking curriculum with in basic education, vocational education and higher education under the regional education office 2 for fiscal year 2021. The objective is to development a continuous and linking curriculum with in basic education, vocational education and higher education. which is consistent with the context in the responsible area of the regional education office 2. The target group consisted of schools participating in the project in 5 provinces: Nonthaburi, Pathum Thani, Nakhon Pathom, Samut Prakan and Bangkok. Using surveys, supervise follow, and onsite interviews. The research results found that: 1) Types of continuous and linking curriculum. There are 2 types: 1.1) Continuous and linking curriculum with in basic education to vocational education and 1.2) Continuous and linking curriculum with in basic education to higher education. 2) The model for continuous and linking curriculum. There are 2 types: 2.1) The development a continuous and linking curriculum by collaborating with educational institutions in the area. and 2.2) The developing/implementing short-term courses or additional courses of existing educational institutions. 3) Conformity with occupation groups according to the Thailand 4.0 policy, there are 4 occupation groups: 3.1) Food, agriculture and biotechnology, 3.2) Technician, automotive service technology building management techniques, agricultural machinery, and 3.3) Computer technology, graphics, multimedia and information technology and 3.4) Public health group, health and medical technology. 4) The results obtained from the continuous and linking curriculum. There are 3 types: 4.1) Bringing the results of study to compare the competency in some subjects to reduce the study time and transfer credits, 4.2) Using the results obtained from the cumulative credit courses to prepare for the transfer of credits for admission to vocational or higher education to reduce study time and 4.3) bringing the results obtained from learning basic courses that show competence to pass into the corresponding vocational or tertiary education without taking an examination. 5) The steps in the process of development a continuous and linking. There are 5 steps: 5.1) Team Empowermentม 5.2) Information Management, 5.3) Potential Enhancement, 5.4) Modern Supervision and 5.5) Assessment and Report and 6) The results of the development a continuous and linking curriculum. There are 9 courses.
 Keyword Continuous and Linking Curriculum,Basic Education,Vocational Education,Higher Education
 กลุ่มของบทความ วิจัยการศึกษาและงานประจำสู่งานวิจัย (R to R)
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565