รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา วิจัยการศึกษาและงานประจำสู่งานวิจัย (R to R)
ชื่อบทความภาษาไทย |
การพัฒนารูปแบบการยืม-คืนอุปกรณ์เครื่องแก้วด้วยระบบออนไลน์ : ศูนย์วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Development of the online loan model for glass equipment : Science and Applied Science Center Faculty of Science and Technology Phetchaburi Rajabhat University |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
นางสาวชนิดา ศรีสาคร , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
chanida sresakorn , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการยืม–คืนอุปกรณ์ เครื่องแก้ว คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ให้มีระเบียบและประสิทธิภาพด้วยระบบออนไลน์ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจรูปแบบการยืม–คืนอุปกรณ์ เครื่องแก้ว คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) นักศึกษาสาขาวิชาเคมี และนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มาขอรับบริการยืม-คืนอุปกรณ์เครื่องแก้วสำหรับการเรียนการสอน โดยเลือกแบบวิธีเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการยืม-คืนอุปกรณ์เครื่องแก้วและแบบประเมินความคิดเห็นต่อรูปแบบการยืม-คืนที่พัฒนาขึ้น โดยแบบสอบถามดังกล่าวผ่านการตรวจสอบหาค่าความสอดคล้อง(IOC) และดัชนีความตรงของเครื่องมือวิจัย(CVI) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน 2) รูปแบบการยืม-คืนอุปกรณ์ เครื่องแก้วที่มีการพัฒนาขึ้นด้วยระบบออนไลน์ ซึ่งดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ วิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 1) ประเมินความพึงพอใจรูปแบบยืม-คืนรูปแบบเดิมจากกลุ่มตัวอย่าง 45 คน 2) ออกแบบรูปแบบการยืม-คืนอุปกรณ์ เครื่องแก้ว 3) พัฒนารูปแบบ 4) ทดสอบการใช้งานรูปแบบการยืม-คืนกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และ 5) ประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานจริง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนารูปแบบการยืม-คืนอุปกรณ์เครื่องแก้ว ให้อยู่ในรูปของ google form และเมื่อผู้ใช้บริการกรอกแบบฟอร์มยืม-คืนอุปกรณ์ เครื่องแก้ว ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ google sheet และมีการแจ้งเตือนผ่านอีเมลล์ และ Line Nofify และใช้ google scrip แปลงไฟล์จาก google drive เป็นไฟล์ pdf. และดำเนินการประเมินความคิดเห็นต่อองค์ประกอบของรูปแบบการยืม-คืน อุปกรณ์ เครื่องแก้ว พบว่า ความคิดเห็นโดยภาพรวมที่มีต่อรูปแบบยืม-คืนอุปกรณ์ เครื่องแก้วออนไลน์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น อยู่ในเกณฑ์มาก และความพึงพอใจต่อการยืม-คืนอุปกรณ์ เครื่องแก้ว ในด้านต่างๆ คือ ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และคุณภาพการให้บริการ มีความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากเช่นเดียวกัน ซึ่งรูปแบบการยืม-คืนอุปกรณ์เครื่องแก้วที่พัฒนาขึ้นนี้ใช้งานในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอน ระยะเวลา และอำนวยความสะดวกให้ทั้งผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่ในจัดการเวลาการยืม-คืนอุปกรณ์ เครื่องแก้วให้มีระบบถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและรองรับความต้องการของผู้ใช้งาน
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
การพัฒนารูปแบบ ,อุปกรณ์- เครื่องแก้ว,ความพึงพอใจ |
Abstract |
The objectives of this research were 1) to develop a model for borrowing-returning equipment, glassware, Faculty of Science and Technology, Phetchaburi Rajabhat University. To be organized and efficient with an online system 2) To assess the efficiency and satisfaction of borrowing-returning equipment, glassware, Faculty of Science and Technology Phetchaburi Rajabhat University. The samples used in this research were divided into 2 groups : 1) Chemistry student and students of science and technology 2) Lecturer of the Faculty of Science and Technology who request for borrowing-returning of glass equipment for teaching by choosing a specific method. The research instruments consisted of 1) a satisfaction questionnaire on the borrowing-returning model of glassware and an opinion assessment form on the borrowing-returning model developed. The aforementioned questionnaire has passed the Compliance Examination (IOC) and Research Instrument Validity Index (CVI) from 3 experts. Glassware that has been developed online. Conduct an analysis of the data by averaging. Standard Deviation and Percentage. Research methods consisted of 1) assessing the satisfaction of the original borrowing-returning model from a sample of 45 people, 2) designing a borrowing-returning model of glassware equipment, 3) developing a model, 4) utilizing the model. borrowing with a sample of 8 people by choosing a specific sample group and 5) assessing satisfaction and evaluating performance from real users. obtained from a specific selection of 8 people. The results of the research were as follows: 1) The development of borrowing-returning of glass equipment To be in the form of a google form and when the user fills out a form to borrow - return glassware, then the information will be sent to the google sheet and notified via email and Line Nofify and use google scrip to convert files from google drive as a pdf file. And conducting an assessment of opinions on the composition of the borrowing-returning-glass equipment model. It was found that the overall opinion towards the borrow-return model glassware online developed by the researcher very in line. and satisfaction with borrowing-returning of glassware equipment in various aspects, namely the process of service Facilities and service quality Satisfaction was at the same level as well. This developed form of borrowing-returning of glassware equipment is used in an online format. This will reduce the process, time, and facilitate both the service user and the staff in managing the borrowing-returning time of the device. Glassware to have a more accurate and efficient system and support the needs of users.
|
Keyword |
pattern development ,equipment –glassware ,satisfaction |
กลุ่มของบทความ |
วิจัยการศึกษาและงานประจำสู่งานวิจัย (R to R) |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|