รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการ
ชื่อบทความภาษาไทย |
ภาพลักษณ์สถานที่ท่องเที่ยวในเมืองไทยในการรับรู้ของประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน: กรณีศึกษา ประชาชนในเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเชีย |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Image of tourist attractions in Thailand as perceived by people in ASEAN: A case study of people in Kuala Lumpur, Malaysia |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
นายพุทธชน อนุรักษ์ , ผศ.ดร.พัฒนะ ธนกฤตพุฒิเมธ, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Phutthachon Anurak ,
Phatthana Thanakitputimed, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
วัตถุประสงค์วิจัยเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาพลักษณ์สถานที่ท่องเที่ยวในเมืองไทยในการรับรู้ของประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน: กรณีศึกษาประชาชนในเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเชีย เป็นวิจัยเชิงปริมาณ มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวกัวลาลัมเปอร์ในประเทศมาเลเซีย และชาวกัวลาลัมเปอร์ในอำเภอหาดใหญ่โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จากสูตรของ W.G. Cochran ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ขนาดตัวอย่างอย่างน้อย 384 คน และปรับขนาดเป็น 400 คน เพื่อสะดวกในการประเมินผล ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 21-30 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 20,001 - 30,000 บาท ต่อเดือน ส่วนใหญ่รับรู้ข้อมูลท่องเที่ยวผ่านสื่อออนไลน์ ภาคใต้คือภูมิภาคที่สนใจมากที่สุด และคิดว่าเมืองไทยมีชื่อเสียงด้านแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากที่สุด ในส่วนของระดับการรับรู้ต่อภาพลักษณ์สถานที่ท่องเที่ยวในเมืองไทย พบว่า มีระดับการรับรู้ต่อภาพลักษณ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านงบประมาณการท่องเที่ยวในด้านความคุ้มค่าในการท่องเที่ยว และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ ด้านสถานที่ท่องเที่ยวในด้านมีสถานที่ท่องเที่ยวยามราตรี และสถานบันเทิงที่มีชื่อเสียง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ ด้านสถานที่ท่องเที่ยวและด้านร้านอาหารและอาหารแตกต่างกัน และระดับการศึกษาต่างกันมีการรับรู้ภาพลักษณ์ในด้านร้านอาหารและอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ภาพลักษณ์,การรับรู้,ประชาชนในเมืองกัวลาลัมเปอร์,มาเลเซีย,อาเซียน |
Abstract |
This research has purposed to study and compare the image of tourist attractions in Thailand as perceived by people in ASEAN: a case study of people in Kuala Lumpur, Malaysia. As a quantitative research, 400 questionnaires were carried out to collect data from Malaysians living in Kuala Lumpur, Malaysia and those residing in Hat Yai District, Songkhla Province by convenience sampling, with W.G. Cochran’s determining 95 percent of the confidence level. These analyzing methods were Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation (S.D.) and Hypothesis Testing analyzed by t-test and One Way ANOVA (F-test). The findings reveal that the majority of responders are males, those who are between the ages of 21 and 30. They are bachelor’s degree holders who work for private firms and earn salaries ranging from 20,001 to 30,000 Baht per month. According to the research participants' perceptions of Thailand's tourism attractions via social media, the southern part of the country is the most appealing to Malaysian tourists, and they recognize that Thailand has a reputation for natural tourism attractions. As shown in the perception level of tourist attractions in Thailand, perceptions in general have reached a high level. When each component is considered, it is discovered that the aspect with the highest average level of awareness was the tourist expense budget. It is worthwhile to travel through this particular topic. The tourism attractions have the lowest level of awareness, in terms of night travel attractions and their renowned entertainment venues. As hypothesis testing revealed, respondents of different ages had different perceptions of the image of tourist attractions, restaurants, and food in Thailand. In addition, different levels of education of tourists have different views of Thailand's restaurants and food, with a statistically significant level of 0.05.
|
Keyword |
Image, Perception, Kuala Lumpur People, Malaysia,ASEAN |
กลุ่มของบทความ |
การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|