รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา ปรัชญา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย จอห์น ล็อคกับการแสวงหาความจริงแบบประสบการณ์นิยมภายใต้การปฏิวัติวิทยาศาสตร์
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) John Locke and the New Truth of Empiricism in the Context of Scientific Revolution
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.ธิติพงศ์ มีทอง ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Dhitiphong Meethong ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
บทความวิชาการเรื่อง “จอห์น ล็อคกับการแสวงหาความจริงแบบประสบการณ์นิยมภายใต้การปฏิวัติวิทยาศาสตร์” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความคิดของล็อคเกี่ยวกับแนวคิดทางด้านประสบการณ์นิยม  ผลจากการศึกษาพบว่าล็อคเป็นนักปรัชญาสายประจักษ์นิยมที่เชื่อว่าประสาทสัมผัสที่ห้าเป็นเครื่องมือพาหะสำคัญของการสร้างชุดความรู้ขึ้น  ความคิดของเขาถูกยืนยันส่งผ่านในหนังสือเรื่อง “งานนิพนธ์ด้านความรู้ของมนุษย์” ซึ่งล็อคเน้นการหาความรู้แบบญาณวิทยาแบบประสบการณ์นิยมที่เกิดขึ้นในช่วงภายใต้การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นขบวนการสำคัญของการปฏิวัติความรู้แบบใหม่ของนักปราชญ์ตะวันตกในศตวรรษที่ 17  ผลของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนรองรับความชอบธรรมต่อการหาความรู้ด้วยรูปแบบประสบการณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยึดถือเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันกระแสธารความคิดเหล่านี้ยังส่งผ่านมายังนักปรัชญาในช่วงเวลานั้นด้วยเช่นกัน 
 คำสำคัญภาษาไทย จอห์น ล็อค, ประสบการณ์นิยม, การปฏิวัติวิทยาศาสตร์, งานนิพนธ์ด้านความรู้ของมนุษย์
 Abstract
The article “John Locke and the New Truth of Empiricism in the Context of Scientific Revolution” aims to study the Idea on empiricism of Locke. The result showed that John Locke was an empirical philosopher who believed that sense was the central tool for the creation of a collection of knowledge. His thoughts were confirmed through the book "An Essay Concerning Human Understanding" which focuses on empirical epistemology knowledge arising during the scientific revolution. This is an important movement of the new knowledge revolution of the 17th century western scholars. The results of the scientific revolution played a critical role in supporting the legitimacy of experiential knowledge-based education, which is what scientists take so far. Meanwhile these streams of thought also passed on to the philosophers of that time.
 Keyword John Locke, Empiricism, Scientific Revolution, An Essay Concerning Human Understanding
 กลุ่มของบทความ ปรัชญา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิชาการ
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565