รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา ปรัชญา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย แตรวงชาวบ้านคณะ เส.ท่าฉลอม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Folk Brass Band of Se. Tachalorm Tachalorm Sub-District, Moeng District, Samutsakorn Province
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.วรชิน มั่งคั่ง ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) worachin Mungkung ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
แตรวงชาวบ้านคณะ เส.ท่าฉลอม
ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
 
วรชิน มั่งคั่ง1, ศราวุธ วิวรรณ2
 
1สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม
2 สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม
worachin@webmail.npru.ac.th
 
บทคัดย่อ
 
            บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา การสืบทอด บทเพลง พิธีกรรมความเชื่อของแตรวงคณะ เส.ท่าฉลอม และบทบาทหน้าที่ของวงที่มีต่อสังคม แตรวงคณะ เส.ท่าฉลอมเริ่มก่อตั้งปี พ.ศ. 2530 มีการสืบทอดดนตรีทั้งดนตรีไทยและแตรวงให้กับบุคคลภายในและภายนอกครอบครัว นักดนตรีที่ร่วมบรรเลงในปัจจุบันมีประสบการณ์ทางแตรวงมากกว่า 10 ปี ลักษณะแตรวงเป็นแบบดั้งเดิมเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะ ไม่มีเครื่องดนตรีไฟฟ้าและเครื่องเสียงร่วมบรรเลง บทเพลงแตรวงคณะคณะ เส.ท่าฉลอม เป็นเพลงประเภทเพลงมาร์ช เพลงไทยเดิม เพลงรำวง เพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง เพลงสตริงสมัยใหม่ และเพลงวัยรุ่นยอดนิยม ด้านความเชื่อและพิธีกรรมให้ความสำคัญกับขนบธรรมเนียมประเพณีแบบฉบับดนตรีไทยที่แสดงถึงการบูชาและแสดงเคารพครูทางดนตรี การถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรี เป็นการสืบทอดภายในครอบครัว วิธีการถ่ายทอดและเรียนรู้โดยการสาธิต ปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่างให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม และการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็กๆ เป็นการสืบทอดภายนอกครอบครัว บทบาทหน้าที่แตรวงคณะ เส.ท่าฉลอมในสังคมไทยที่แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านพิธีกรรม และด้านความบันเทิง การปรับตัวของแตรวงชาวบ้านคณะ เส.ท่าฉลอมในสังคมไทยปัจจุบันพบ 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในประกอบด้วย การสร้างรายได้เพื่อความอยู่รอดของแตรวง และปัจจัยภายนอก จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีที่มีความทันสมัย การแข่งขันที่มีมากขึ้น ความนิยมทางด้านดนตรีที่เปลี่ยนไปของผู้ชมและผู้ว่าจ้าง
 
คำสำคัญ: แตรวง, ตำบลท่าฉลอม, การสืบทอด, บทบาทหน้าที่,  คณะ เส.ท่าฉลอม
 คำสำคัญภาษาไทย แตรวง,ตำบลท่าฉลอม,คณะ เส.ท่าฉลอม
 Abstract
Folk Brass Band of Se. Tachalorm
Tachalorm Sub-District, Moeng District, Samutsakorn Province
 
Warachin Mungkung1, Sarawut Wiwan2
 
1 Department of Music Education, Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakhon Pathom Rajabhat University, Nakhon Pathom
2 Department of Music Education, Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakhon Pathom Rajabhat University, Nakhon Pathom worachin@webmail.npru.ac.th
 
ABSTRACT
 
            The present research was aimed at exploring the origin, inheritance, lyrics, rites and beliefs of the Se. Tachalorm folk brass band and its role in the society. The Se. Tachalorm folk brass band was first founded in 1987 and both the Thai music and the brass band have been inherited to individuals within and outside of the family. The musicians currently play in the band have over 10 years of experience in brass band. The brass band is originally characterized with types of musical instruments composed of woodwind, brass, and percussion without electronic and audio instruments. The lyrics played by Se. Tachalorm brass band include March songs, Thai classical songs, Thai folk dance songs, Thai country songs, Thai city songs, modern string songs, and teen pop songs. Regarding beliefs and rites, an importance is placed on custom, tradition, and typical Thai music that signify worship and respect to Thai music masters. Music knowledge transfer is within family with the methods of knowledge transfer and learning based on demonstration, and practice as a model for learners to follow. Knowledge transfer to children is to inherit outside of family. The role and duty of the Se. Tachaloem brass band in Thai society involve 2 areas as rites and entertainment. The adjustment of Se.Tachalorm folk brass band in Thai society today was found to involve 2 factors. Internal factor is to generate income for the band to survive, and external factor includes changes of social condition, modern technology, increased competition, and changing music preference of audiences and hirers.
 
Keywords: Brass Band, Tachalorm Sub-District, Inheritance Role and Duty, Se. Tachaloem Brass Band
 Keyword Brass Band,Tachalorm Sub-District,Se. Tachaloem Brass Band
 กลุ่มของบทความ ปรัชญา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิชาการ
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565