รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา รัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ระบอบกงสุลในประวัติศาสตร์สาธารณรัฐโรมัน
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Consulship in Roman Republic History
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.ธิติพงศ์ มีทอง ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Dhitiphong Meethong ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
บทความวิชาการเรื่อง”ระบอบกงสุลในประวัติศาสตร์สาธารณรัฐโรมัน” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพัฒนาการของระบอบกงสุลในสมัยสาธารณรัฐโรมัน  ผลจากการศึกษาพบว่าภายหลังจากสิ้นสุดระบบกษัตริย์ในสมัยอาณาจักรของโรมันแล้ว  ชาวโรมันได้เปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ขึ้นโดยมีการใช้ระบบกงสุลขึ้นซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้นสองคนซึ่งเป็นการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกัน และยังเป็นปรากฎการณ์ใหม่ของการปกครองในโลกโบราณที่เกิดขึ้นด้วย  แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลาแรกนั้นกงสุลถูกคัดเลือกมาจากพวกแพทริเชียนซึ่งเป็นชนชั้นสูงของโรมันเป็นสำคัญ  อำนาจของกงสุลทั้งสองมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมจวบจนกระทั่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นอีกครั้งในสมัยจักรวรรดิโรมัน  อำนาจของกงสุลทั้งหมดจึงถูกเปลี่ยนถ่ายไปอยู่กับจักรพรรดิโรมัน และทำให้ระบอบกงสุลหมดบทบาทลงในการปกครองของโรมันในที่สุด
 คำสำคัญภาษาไทย ระบอบกงสุล, สาธารณรัฐโรมัน, แพทริเชียน
 Abstract
This article “Consulship in Roman Republic History” has objective to study the development of the consular system during the Roman Republic. The results of the study showed that after the end of the monarchy in the Roman kingdom. The Romans underwent a new government with the incorporation of a consular system of two as a balance of power between them. And it was also a new phenomenon of domination in the ancient world that occurred as well. However during the first period, consuls were chosen primarily from the Roman aristocracy, the Patricians. The powers of the two consuls lasted until the reign of the Roman Empire. All consul powers were transferred to the Roman emperor and ultimately made the consular regime lose its role in Roman rule.
 Keyword Consular System, Roman Republic, Patrician
 กลุ่มของบทความ รัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิชาการ
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565