รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ชื่อบทความภาษาไทย |
การสำรวจปัญหาและสวัสดิการที่ผู้ให้บริการส่งอาหารในกรุงเทพฯได้รับในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด19 |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
A Survey of Challenges and Welfare Received by Food Riders in Bangkok during the COVID-19 Pandemic |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
นายดำรงค์ อดุลยฤทธิกุล , นางสาวณชิตา แกล้วเกษตรกรณ์, นางสาวจิตติกาญจน์ ไตรกุล, นางสาววรินทร พัฒนาภิวัฒน์, นางสาวกัญญาภัค จงจิตต์เวชกุล, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Dumrong Adunyarittigun ,
Nachita Klaewkasetkorn,
Jittikarn Traikul,
Warinthorn Pattanapiwat,
Kanyapak ๋๋Jongjitwetchakul, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19ส่งผลให้การให้บริการขนส่งอาหารออนไลน์จึงเป็นที่นิยมอย่างมาก ผู้ขับขี่ส่งอาหารเหล่านี้เป็นบุคลากรหลักที่รับความเสี่ยงจากการติดเชื้อเมื่อส่งอาหารให้กับลูกค้า ประเด็นเกี่ยวกับค่าตอบแทนและการกีดกันจากการคุ้มครองทางสังคมที่ให้กับผู้ให้บริการส่งอาหารยังขาดความชัดเจน ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจอุปสรรคที่ผู้ให้บริการส่งอาหารพบ สวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานที่ได้รับ และระดับความพึงพอใจที่มีต่อสวัสดิการและการคุ้มครองดังกล่าวในช่วงวิกฤตโควิด19 แบบสอบถามออนไลน์และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างถูกใช้เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึก จากการศึกษาวิจัยพบว่า อุปสรรคหลักที่ผู้ให้บริการส่งอาหารประสบในการขนส่งอาหารช่วงโรคระบาด ได้แก่ความเสี่ยงในการติดโรคโควิด19 ความไม่มั่นคงทางการเงิน สวัสดิการที่ไม่ครอบคลุมและรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตประจำวัน โดยผู้ให้บริการส่งอาหารส่วนมากไม่พึงพอใจต่อการมาตรการคุ้มครองแรงงานของภาครัฐและภาคเอกชนเนื่องจากการเข้าถึงสวัสดิการและการรับสิทธิคุ้มครองเป็นไปด้วยความยากลำบาก อย่างไรก็ตามทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรที่จะปรับปรุงมาตรการการคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการของผู้ให้บริการส่งอาหารให้มีความครอบคลุมและเข้าถึงได้ง่าย
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ระบบเศรษฐกิจที่รองรับงานอิสระ ,บริการส่งอาหารออนไลน์ ,พนักงานส่งอาหาร |
Abstract |
Abstract
Due to the COVID-19 pandemic, the online food delivery service has dramatically become popular. Food delivery riders have become a key personnel who risks themselves to serve food for customers. Issues about riders' compensation discrimination and exclusion from social protection became shrouded in mystery. Therefore, this study aims to explore the challenges food delivery riders encountered, the welfare and labor protections they received and their level of satisfaction towards such welfare and protections during the COVID-19 pandemic. The internet-based questionnaire and semi-structured interview were conducted to gather insights to address the purpose. The finding indicated that main obstacles to operating food delivery service during the pandemic included the risk of getting infection from the COVID-19 disease, financial insecurity, inadequate welfare, and insufficient daily income. The vast majority of food delivery riders were dissatisfied with the assistance provided by the government and by private delivery agencies due to the difficulty of accessing welfare and protection. For this reason, both the public and private sectors should improve labor protection and welfare of food delivery riders to be more comprehensive and accessible.
|
Keyword |
Gig economy ,Online Food Delivery Service ,Food Delivery Riders |
กลุ่มของบทความ |
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิชาการ |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|