รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย พฤติกรรมการอ่านหนังสือและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอ่านหนังสือของนักศึกษา สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Reading behavior and factors affecting to Social Studies students’ reading, Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakhon Pathom Rajabhat University
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.นิพา ผลสงเคราะห์ , นางสาวญาณิศา ภูมิรพีภร,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Nipa Phonsongkroh , Yanisa Poomrapiporn,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอ่านหนังสือของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา และ 3) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอ่านหนังสือของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำแนกตามเพศ และระดับชั้นปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 156 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาอ่านหนังสือ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ อ่านประมาณ 10-20 นาที อ่านที่บ้าน/หอพัก อ่านเนื้อหาสาระที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย ประเภทบันเทิงคดี (นวนิยาย เรื่องสั้น) อ่านเพื่อค้นคว้าข้อมูลประกอบการเรียน และมีอุปสรรคในการอ่านคือ มีการบ้านจากการเรียนมาก 2) นักศึกษามีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอ่านหนังสือโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่าน รองลงมาคือ ด้านปัจจัยเกี่ยวกับครอบครัว และด้านพฤติกรรมการอ่านของเพื่อน และ 3) นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอ่านหนังสือโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และนักศึกษาที่มีระดับ  ชั้นปีต่างกันมีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอ่านหนังสือโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอ่านหนังสือด้านปัจจัยเกี่ยวกับครอบครัว และด้านพฤติกรรมการอ่านของเพื่อน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านไม่แตกต่างกัน
 คำสำคัญภาษาไทย พฤติกรรมการอ่านหนังสือ,ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอ่านหนังสือ ,นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา
 Abstract
The objectives of this research were: 1) to study reading behavior of Social Studies students’ reading. 2) to study factors affecting to Social Studies students’ reading; and 3) to comparing of factors affecting to Social Studies students’ reading, Social Studies at Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakhon Pathom Rajabhat University divided by gender and year level. The samples were 156 Social Studies students of Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakhon Pathom Rajabhat University in the academic year 1/2021. The research instrument was questionnaires. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA. The results of this research showed that: 1) students read 1-2 times a week, for 10-20 minutes, read at home or dormitory, read content that makes they feel relaxed as fictions (novel, short story), read to search for information in their study, and the reading difficulty is there are a lot of homework, 2) the students had factors affecting their reading at a moderate level. The factor affecting the most to their reading was the reading benefits, followed by the family and their friends’ reading behavior factors, and 3) the students with different genders had no overall and individual factors affecting to reading, and students with different year levels had overall factors influencing reading with statistically significant level at .05. The family and their friends’ reading behavior factors were different with statistically significant level at .05, and the reading benefits factors had no difference.
 Keyword factors affecting reading,reading behavior,social studies students
 กลุ่มของบทความ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565