รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ชื่อบทความภาษาไทย |
การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาจีนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมต่อการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The Study of Satisfaction of Chinese Students at Nakhon Pathom Rajabhat University Towards Online Teaching and Learning in the COVID-19 Epidemic Situation |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
ผศ.วรรษมน เพียรเสมอ , อ.นฤวร สันตมนัส, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Wasamone Peansamer ,
Naruworn Santamanat, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักศึกษาจีนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมต่อการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรค
ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลคือนักศึกษาจีนจากวิทยาลัยเทคโนโลยีการอาชีพหนานหนิง ในโครงการความร่วมมือทางการศึกษา ที่กำลังศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในรูปแบบออนไลน์จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลและใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยจากแบบสอบถามตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า อุปกรณ์ที่นักศึกษาจีนใช้เรียนออนไลน์มากที่สุด คือ โทรศัพท์มือถือสลับกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก โปรแกรมที่ใช้เรียนออนไลน์คือ โปรแกรม VooV และนักศึกษาจีนทุกคนเรียนออนไลน์ที่บ้าน ผลการวิจัยตอนที่ 2 ความพึงพอใจของนักศึกษาจีนต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นคำถามปลายปิดพบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาจีนด้านหลักสูตรและรายวิชา ประเด็นที่นักศึกษาพึงพอใจมากที่สุดมี 2 ประเด็น ได้แก่ เนื้อหาที่นักศึกษาเรียนสอดคล้องกับรายวิชาและการวัดและประเมินผลรายวิชาตรงกับเนื้อหาที่เรียน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 ด้านการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาพึงพอใจประเด็นช่วงเวลาในการเรียนออนไลน์มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 ด้านอาจารย์ผู้สอน นักศึกษามีความพึงพอใจประเด็นผู้สอนมีความสามารถในการใช้โปรแกรมการสอนออนไลน์มากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ประเด็นที่นักศึกษาพึงพอใจมากที่สุดมี 2 ประเด็น ได้แก่ ความพึงพอใจต่อโปรแกรมที่ใช้จัดการเรียนออนไลน์ และความพึงพอใจต่ออุปกรณ์ที่ใช้จัดการเรียนออนไลน์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ 4.80 และผลการวิจัยตอนที่ 3 ความพึงพอใจและข้อเสนอแนะของนักศึกษาจีนต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นคำถามปลายเปิดพบว่า การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ควรเป็นการสอนสด โดยอาจารย์ควรปรับเวลาการสอนและงานมอบหมายให้เหมาะสมกับนักศึกษาจีน รวมถึงเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีไทย ทั้งนี้ควรสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาจีนมีสมาธิในการเรียนมากยิ่งขึ้น
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ความพึงพอใจ,นักศึกษาจีน,การเรียนการสอนออนไลน์ |
Abstract |
This research was to study the satisfaction of Chinese students at Nakhon Pathom Rajabhat University towards online teaching and learning in the COVID-19 epidemic situation. The objective is as follows to study the satisfaction of Chinese students towards the online teaching and learning in the COVID-19 epidemic situation. The sample group of data collection was 10 Chinese students from Nanning College of Vocational Technology in educational cooperation projects who are pursuing a Bachelor of Arts, Thai for Career department, Faculty of Humanities and Social Sciences in an online form. The equipment is questionnaire and statistics for data analysis are percentage mean and standard deviation.
The research results from the questionnaire part 1, the basic information of the respondents found that the device that Chinese students use to study online the most is a mobile phone interspersed with a laptop computer. The program used to study online is VooV and all students study online at home. The results of the questionnaire part 2 found that 1) Chinese students were satisfied with the curriculum and subjects. There were 2 issues that students were most satisfied, the content that students studied was accordance with the course (4.70) and the measurement and evaluation of the course corresponding to the subject content (4.70). The students were most satisfied with the issue of online learning time (4.40). The students were satisfied with the issue of the teacher who is able to use the online teaching program (4.80). There were 2 issues that students most satisfied with the teaching support, the program and the equipment of online learning (4.80). The results of the questionnaire part 2 found that it should be LIVE teaching. Teachers should adjust teaching time and assignments to suit Chinese students, including additional content about Thai lifestyle, culture and traditions. It should create a learning atmosphere that will help Chinese students to more concentrate on their studies.
|
Keyword |
Satisfaction,Chinese Students,Online Learning |
กลุ่มของบทความ |
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|