รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรคโควิด-19 ของนักศึกษา
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The study of students’ behavior in using herbs for the treatment of COVID-19
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.ยุพิน พิพัฒน์พวงทอง ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Yupin Pipatphuangthong ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรคโควิด-19 ของนักศึกษา ประชากร คือ นักศึกษาคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 250 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2564 และยินยอมให้ข้อมูล จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 82 เพศชาย ร้อยละ 18 2) นักศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเคยใช้สมุนไพรรักษาโรคโควิด 19 ร้อยละ 42 3) นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้สมุนไพรแบบแคปซูลในการรักษาโรคโควิด19 มากที่สุด ร้อยละ 58 แบบสด ร้อยละ 28 น้อยที่สุด คือ แบบต้ม ร้อยละ 14 4) นักศึกษาส่วนใหญ่คิดว่าสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพให้ผลดีที่สุดในการรักษาโรคโควิด19 คือ สมุนไพรแคปซูล ร้อยละ 39 สมุนไพรสด ร้อยละ 38 น้อยที่สุด คือ สมุนไพรต้ม ร้อยละ 23 5) วิธีการรับประทานสมุนไพรที่นักศึกษาเลือกใช้ในการรักษาตัวที่บ้าน (home isolation) เมื่อติดโควิดมากที่สุด คือ รับประทานสมุนไพรแคปซูล ร้อยละ 60 นำสมุนไพรมาต้มรับประทาน ร้อยละ 28 น้อยที่สุด คือ รับประทานสมุนไพรสด ร้อยละ 12 6) นักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในการรักษาตัวที่บ้าน ปานกลาง ร้อยละ 50 มีความรู้น้อย ร้อยละ 27 มีความรู้น้อยที่สุด ร้อยละ 18 มีความรู้มากที่สุด ร้อยละ 5  7) สมุนไพรที่นักศึกษาเลือกรับประทานบ่อยที่สุดเมื่อมีอาการ คือ ฟ้าทะลายโจร ร้อยละ 62 กระชายขาว ร้อยละ 20 ขมิ้นชัน ร้อยละ 15 มะขามป้อม ขิง กระเทียม ร้อยละ 3 8) แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรรักษาโรคโควิด 19 ที่นักศึกษาได้รับมากที่สุด คือ เว็บไซต์ ร้อยละ 32 โทรทัศน์ ร้อยละ 28 สถานพยาบาล ร้อยละ 26 และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 14 9) นักศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดว่าสมุนไพรช่วยรักษาโรคโควิด19 ได้ ร้อยละ 38 รักษาไม่ได้ ร้อยละ 20 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 42
 คำสำคัญภาษาไทย พฤติกรรม,สมุนไพร,โรคโควิด 19
 Abstract
This article aimed to study the behavior of application of herb to cure Covid-19 of students. The population was 250 students of the Faculty of Humanities and Social Sciences. The sample was 200 students who registered the courses in academic year 2021 and consented to give the information. The instrument for collecting data was questionnaire. Analysis data was made by descriptive statistics and content analysis. The research results were found as follows: 1) the most students were female (82%), male (18%); 2) they ever have used the herb (42%); 3) they had capsule: the most level (58%), fresh herbs (28%), boiled herbs, the least level (14%); 4) they thought that herb could cure Covid-19: capsule, the most level (39%), fresh herbs (38%), boiled herbs, the least level (23%); 5) they ate herb during home isolation:  capsule, the most level (60%), boiled herbs (28%), fresh herbs, the least level (12%); 6) they had the herbal knowledge during home isolation: middle level of knowledge (50%), little level (27%), the least level (18%), the most level (5%); 7) the students ate andrographis paniculata, the most level (62%), finger root (20%), turmeric (15%), gooseberry, ginger, garlic (3%); 8) Covid-19 information sources: website (32%), television (28%), hospital (26%), and the personals of hospital (14%); 9) they believed that herb could prevent Covid-19 (38%), could not (20%), uncertain (42%).
 
 Keyword behavior,herbs,Covid-19
 กลุ่มของบทความ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565