รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
ชื่อบทความภาษาไทย |
ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เสริมเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการผลิตสมุนไพรบัวบก ในพื้นที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Effect of Application of Organic Fertilizer Supplemented with Arbuscular Mycorrhizal Fungi on Asiatic Pennywort Herb Production in Bang Len District, Nakhon Pathom |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
ผศ.ดร.พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์ , อื่นๆนัทฐา ทักษ์รัตนศรัณย์, นางสาวณิภัชญา จันทร์ด้วง, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Phakpen Poomipan ,
์Natta Takrattanasarun,
์Niphatchaya Chanduong, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เสริมเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซากับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตามการปฏิบัติของเกษตรกรต่อการผลิตบัวบก (Centella asiatica (L.) Urb. ในพื้นที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 3 ทรีตเมนต์ ได้แก่ (1) การไม่ใส่ปุ๋ย (2) การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตามการปฏิบัติของเกษตรกร และ (3) การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เสริมเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา ผลการทดลองพบว่า บัวบกที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เสริมเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซามีการเจริญเติบโตมากกว่าบัวบกที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตามการปฏิบัติของเกษตรกรและไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความยาวไหล จำนวนต้นต่อไหล น้ำหนักสดทั้งหมด และ น้ำหนักแห้งทั้งหมด มากที่สุด และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เสริมเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซายังมีผลทำให้บัวบกมีปริมาณผลผลิตสดต่อไร่สูงที่สุด 1,768 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตามการปฏิบัติของเกษตรกรและไม่ใส่ปุ๋ยให้ผลผลิตสดต่อไร่ 1,335 และ 914 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และบัวบกที่ได้รับปุ๋ยปุ๋ยอินทรีย์เสริมเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซามีปริมาณสารสำคัญทั้งหมดเพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตามการปฏิบัติของเกษตรกร นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่า การปลูกบัวบกโดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์เสริมเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซามีกำไรเพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เสริมเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซามีผลทำให้บัวบกที่ปลูกในพื้นที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีการเจริญเติบโต ปริมาณ-คุณภาพผลผลิต และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา ,บัวบก,ปุ๋ยอินทรีย์ |
Abstract |
The objective was aimed to compare 2 types of organic fertilizer on growth and yield of asiatic pennyworth (Centella asiatica (L.) Urb. growing in Bang Len district, Nakhon Pathom. A pot experiment was undertaken in CRD with 3 replications. There were 3 treatments, (1) no fertilizer, (2) organic fertilizer according to farmer practice and (3) organic fertilizer supplemented with arbuscular mycorrhizal fungi (AMF). The results had shown that application of organic fertilizer supplemented with AMF significantly increased growth in term of stolen length, node number and total fresh-dry weight than those in organic fertilizer according to farmer practice and no fertilizer treatment. The organic fertilizer supplemented with AMF gave the highest yield of 1,768 kg/rai. Whereas, application of organic fertilizer according to farmer practice and no fertilizer treatment gave the lower yield of 1,335 and 914 kg/rai, respectively. Total bioactive compounds were also increased in organic fertilizer supplemented with AMF treatment by 15 %. When considering the economic return, it was found that the cultivation of asiatic pennyworth with organic fertilizer supplemented with AMF had an increase of approximately 50% profit. Therefore, application of organic fertilizer supplemented with AMF had significantly resulted in the highest growth, quantity and quality of yield and economic return of asiatic pennyworth growing in Bang Len district, Nakhon Pathom.
|
Keyword |
arbuscular mycorrhizal fungi,asiatic pennywort,organic fertilizer |
กลุ่มของบทความ |
ชีววิทยา เกษตร และอาหาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|