รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
ชื่อบทความภาษาไทย |
การประยุกต์ใช้สีจากกะหล่ำปลีม่วง (Brassica oleracea var. rubra) เพื่อใช้ในการย้อมสีเนื้อเยื่อลำต้นหมอน้อยและโครโมโซมจากปลายรากหอม |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Utilization of Color from Purple Cabbage (Brassica oleracea var. rubra) for Staining Plant Tissue and Staining Chromosome. |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
ผศ.ดร.ธีรารัตน์ แช่มชัยพร , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Teerarat Chaemchaiyaporn , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสีย้อมจากกะหล่ำปลีม่วงและศึกษาประสิทธิภาพของสีย้อมจากกะหล่ำปลีม่วงที่ใช้ในการย้อมสีเนื้อเยื่อลำต้นหมอน้อยและโครโมโซมจากปลายรากหอม โดยใช้ตัวทำละลาย 5 ชนิด ได้แก่ น้ำกลั่น เมทานอล 95% เอทานอล 95% กรดอะซิติก 20% และกรดไฮโดรคลอริก 20% ในอัตราส่วน 3:1 (น้ำหนักพืช (กรัม) : ปริมาตรตัวทำละลาย (มิลลิลิตร)) โดยผลการทดลองพบว่า สารสกัดจากกะหล่ำปลีม่วงที่ใช้ตัวทำละลายเป็นกรดอะซิติกความเข้มข้น 20% สามารถย้อมติดสีเนื้อเยื่อต้นหมอน้อยได้ดีที่สุด โดยสามารถมองเห็นท่อลำเลียง (vascular bundle) เป็นสีแดงได้อย่างชัดเจน และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ส่วนประสิทธิภาพในการย้อมติดโครโมโซมจากปลายรากหอมนั้น สารสกัดสีที่ใช้ตัวทำละลายเป็นกรดไฮโดรคลอริกความเข้มข้น 20% สามารถให้ผลการย้อมติดสีของโครโมโซมได้ดีที่สุดโดยมีค่าความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 3.82
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
สีย้อมธรรมชาติ เนื้อเยื่อพืช โครโมโซม กะหล่ำปลีม่วง |
Abstract |
The objectives of this research were to select suitable solvents for dye extraction from purple cabbage and to study the efficacy of dye from purple cabbage for staining plant tissue and staining chromosome from onion root tips. Five types of solvents were used: distilled water, 95% methanol, 95% ethanol, 20% acetic acid and 20% hydrochloric acid at a 3:1 ratio (plant weight (g): solvent volume(ml)). The results showed that Extracts from purple cabbage that use a solvent as 20% acetic acid able to staining plant tissue the best, vascular bundle is clearly visible in red and the average satisfaction was equal to 4.32. As for the efficiency of chromosome staining from the tip of the onion root solvent-based paint extracts are 20% hydrochloric acid can give the best chromosome staining effect and the average satisfaction was equal to 3.82.
|
Keyword |
natural dyes, plant tissue, chromosome, purple cabbage |
กลุ่มของบทความ |
ชีววิทยา เกษตร และอาหาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|