รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา ชีววิทยา เกษตร และอาหาร

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนาสีย้อมเนื้อเยื่อพืชจากกระเจี๊ยบแดง
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Development of Plant Tissue Staining Dye Extracted from Roselle (Hibiscus sabdariffa Linn.)
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.ดร.ธีรารัตน์ แช่มชัยพร ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Teerarat Chaemchaiyaporn ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสีจากกระเจี๊ยบแดงสำหรับย้อมเนื้อเยื่อพืชโดยใช้ตัวทำละลายทั้งหมด 6 ชนิด คือ เมทานอล 100% เอทานอล 95% น้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 25 50 70 และ 90 องศาเซลเซียส โดยใช้อัตราส่วน 1:1 [น้ำหนักพืช(กรัม) : ปริมาตรตัวทำละลาย (มิลลิลิตร)] จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดจากกระเจี๊ยบแดงที่สกัดด้วยน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส สามารถย้อมติดสีเนื้อเยื่อลำต้นหญ้าขนได้ชัดเจนที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.31 และเมื่อนำสารสกัดจากกระเจี๊ยบแดงที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส อัตราส่วน 1:1 ผสมกับสารมอลโทเดกซ์ทริน (maltodextrin) ในอัตราส่วน 100:30 และ 100:40  [ปริมาตร (มิลลิลิตร) : น้ำหนัก (กรัม)] ตามลำดับ เพื่อนำไปคงสภาพสีด้วยเทคนิคการทำให้แห้งแบบใช้ความเย็น (freeze dryer) พบว่าจะได้สีกระเจี๊ยบแดงที่เป็นผงและละลายน้ำได้ และเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสีย้อมในการย้อมเนื้อเยื่อลำต้นหญ้าขนพบว่า ยังคงสามารถย้อมติดสีเนื้อเยื่อลำต้นหญ้าขนได้ดีแต่คุณภาพของสีย้อมที่ได้จะมีสีที่อ่อนกว่าเดิม
 คำสำคัญภาษาไทย กระเจี๊ยบแดง สีย้อมเนื้อเยื่อพืช แอนโทไซยานิน ผงสีย้อม
 Abstract
The objective of this research was to select suitable solvents to extract pigments from roselle (Hibiscus sabdariffa Linn.) for use in plant tissue dyeing. with 6 solvent types, 100%methanol, 95% ethanol, distilled water at temperatures 25, 50, 70 and 90 °C with the ratio of 1:1 (plant weight (gram): quantity of solvent (milliliter)). The results showed that roselle was extracted with distilled water at temperatures 70 °C can clearly stain plant tissue. The average satisfaction value was 4.31. The roselle extract was extracted with a 1:1 ratio of distilled water at temperatures 70 °C mixed with maltodextrin at the ratio of 100: 30 and 100: 40 (volume (ml): weight (g)), respectively, to maintain the color by freeze-drying technique. The extract will be powdered and water soluble. When comparing the dye efficiency in plant tissue dyeing, it was found that it was able to dye the plant tissue well but the dye quality was lighter than the original color.
 Keyword roselle, plant tissue staining, anthocyanin, powder dye
 กลุ่มของบทความ ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565