รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
ชื่อบทความภาษาไทย |
ประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบหูกวางในการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืช |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Efficacy of leaf extract from Terminalia catappa Linn. to inhibit fungal plant pathogens |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
อ.สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์ , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
siriwan samithiarporn , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การศึกษาศักยภาพของสารสกัดจากใบหูกวางที่สกัดโดยใช้ตัวทำละลาย 2 ชนิด ได้แก่ น้ำกลั่น และ เอทิลแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Sclerotium spp. (ScAY) สาเหตุโรคลำต้นเน่าของมะเขือ เชื้อรา Collectotrichum gloeosporioides (CgAY) สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของพริกหนุ่ม และ C. capsici (CcAY) สาเหตุ โรคแอนแทรคโนสของพริกจินดา ทำการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดด้วยวิธี poisoned food technique บนอาหาร potato dextrose agar (PDA) พบว่าสารสกัดจากใบหูกวางที่ใช้แอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวทำละลายที่ระดับความเข้มข้น 1,000 ppm มีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Sclerotium spp. (ScAY), C. gloeosporioides (CgAY) และ C. capsici (CcAY) เฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 73.81, 55.50 และ 56.27 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเอทิลแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวทำละลายที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดสำหรับสารสกัดจากใบหูกวางเนื่องจากสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้ดี
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ต้นหูกวาง,สารสกัดพืช,เชื้อราสาเหตุโรคพืช |
Abstract |
Leaf extract of Terminalia catappa was tested for their abilities to inhibit growth of fungal plant pathogens by using two kinds of solvent; distilled water and 95% ethyl alcohol to control fungal plant pathogen in 1) Sclerotium spp. (ScAY), the cause of root rot disease in round eggplant, 2) Collectotrichum gloeosporioides (CgAY), the cause of anthracnose disease on chili spur pepper and 3) C. capsici (CcAY), the cause of anthracnose disease on chili pepper. The efficacy test was conducted by poisoned food technique on potato dextrose agar (PDA). The experiment result revealed that leaf extract of Terminalia catappa, diluted in 95% ethyl alcohol with 1,000 ppm concentration exhibited an inhibitory effect against Sclerotium spp. (ScAY), C. gloeosporioides (CgAY) and C. capsici (CcAY). Average disease severity rating was 73.81%, 55.50% and 56.27%, respectively. The study showed that 95% ethanolic leaf extract of Terminalia catappa was more effective in inhibiting fungal plant pathogens.
|
Keyword |
Terminalia catappa,plant extract,plant pathogenic fungus |
กลุ่มของบทความ |
ชีววิทยา เกษตร และอาหาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|