รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
ชื่อบทความภาษาไทย |
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมผลหม่อน |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Product Development of Mulberry Ice Creams |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
ผศ.จิรพร สวัสดิการ , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Jiraporn Sawasdikarn , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมจากผลหม่อน 3 ชนิด ได้แก่ ไอศกรีมนม ไอศกรีมเชอร์เบท และไอศกรีมกะทิ เพื่อศึกษาผลของปริมาณหม่อนระดับต่างๆ ได้แก่ ร้อยละ 0 ร้อยละ 5 และร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ต่อการยอมรับของผู้บริโภค ใช้วิธีประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสโดยการทดสอบความชอบ 9 ระดับ (9-point hedonic scale) ต่อคุณภาพด้าน สี กลิ่นรส รสชาติ เนื้อสัมผัส การละลายในปาก ความชอบโดยรวม พบว่าผู้บริโภคยอมรับไอศกรีมนมหม่อน ไอศกรีมเชอร์เบทหม่อน และไอศกรีมกะทิหม่อน ที่มีปริมาณหม่อนร้อยละ 10 ร้อยละ 5 และร้อยละ 5 โดยน้ำหนักตามลำดับ จากนั้นนำไอศกรีมผลหม่อนทั้ง 3 ชนิดไปศึกษาผลของชนิดสารให้ความคงตัวต่างๆ ได้แก่ กัวร์กัม คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส และโลคัสบีนกัม ต่ออัตราการขึ้นฟู พบว่าไอศกรีมผลหม่อนทั้ง 3 ชนิด ที่มีกัวร์กัมเป็นสารให้ความคงตัวจะเพิ่มอัตราการขึ้นฟู จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปพัฒนาไอศกรีมผลหม่อนที่มีปริมาณผลหม่อนและชนิดของสารให้ความคงตัวที่เหมาะสม สามารถเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ไอศกรีม,ผลหม่อน |
Abstract |
This research aimed to develop three styles of ice cream products from the mulberry fruit, namely milk ice cream, sherbet ice cream and coconut milk ice cream. The mulberry ice creams were prepared by adding mulberry fruit contents at 0 5 and 10 %wt/wt. The sensory evaluation of mulberry ice cream was performed by using 9-point hedonic scale on the color, flavor, taste, texture, mouth feel and overall acceptance. The results indicated that the majority of consumers accepted the milk ice cream, sherbet ice cream and coconut milk ice cream that containing mulberry fruit content at 10, 5 and 5 %wt/wt, respectively. The effect of stabilizing agent such as guar gum, carboxy methyl cellulose and locust bean gum on overrun was studied. Results indicated that the mulberry fruit ice cream added guar gum increased the overrun. These results suggest that the proper mulberry fruit content could be developed the mulberry ice cream products to add more choices for the consumers.
|
Keyword |
Ice cream,Mulberry fruit |
กลุ่มของบทความ |
ชีววิทยา เกษตร และอาหาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|