รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
ชื่อบทความภาษาไทย |
ความเข้มข้นของน้ำตาลและแอลกอฮอล์ที่เหมาะสมต่อการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากกล้วยน้ำว้า |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Product Development of Fermented Vinegar from Kluai Nam Wa |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
อ.ดร.กัญญา สอนสนิท , ผศ.ดร.อุมาพร อาลัย, นายอานนท์ เรียงหมู่, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Kanya Sornsanit ,
Aumaporn Arlai,
Anon Riangmoo, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อ ศึกษาความเข้มข้นของน้ำตาลและแอลกอฮอล์ที่เหมาะสมต่อการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากกล้วยน้ำว้า โดยความเข้มข้นน้ำตาลต่อการผลิตแอลกอฮอล์ของไวน์กล้วยน้ำว้าด้วยเชื้อ Saccharomyces cerevisiae var. burgundy พบว่าเมื่อหมักไวน์กล้วยน้ำว้าที่มีน้ำตาลเริ่มต้น 15 และ 20 ๐brix เป็นเวลา 14 วันแล้วหยุดกระบวนการหมักจะมีความเข้มข้นแอลกอฮอล์ ร้อยละ 7.87±0.15 และ 10.75±0.28 ตามลำดับ ปริมาณของแข็งละลาย 6.53±0.25 และ 8.93±0.38 ๐brix ตามลำดับ น้ำตาลรีดิวซ์ ร้อยละ 1.83±0.31 และ 2.13±0.15 ตามลำดับ และค่าความเป็นกรดด่าง 4.27±0.21 และ 3.92±0.13 ตามลำดับ จากนั้นนำไปศึกษาการหมักน้ำส้มสายชูจากในสภาวะที่มีอากาศด้วยเชื้อ Acetobacter pasteurianus TISTR102 ในถาดที่ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์แตกต่างกัน ที่ร้อยละ 6, 8 และ 10 เป็นระยะเวลา 24 วัน พบว่าน้ำส้มสายชูหมักจากกล้วยน้ำว้าที่หมักจากไวน์กล้วยน้ำว้า ร้อยละ 8 เหมาะสมที่สุด เนื่องมีประมาณกรดแอซีติก ร้อยละ 5.64±0.24 ในขณะที่กระบวนการและวิธีการหมักแบบ Semi-septic fermentation ของผู้ประกอบการที่หมักระยะเวลา 12 สัปดาห์แล้ว พบว่ามีปริมาณกรดแอซีติก ร้อยละ 3.36±0.08 ซึ่งน้อยกว่าค่ามาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
น้ำส้มสายชู,กล้วยน้ำว้า,การหมัก |
Abstract |
The objective of this research was to study the optimal sugar and alcohol concentrations for the production of Kluai Nam Wa vinegar . The sugar concentration on the alcohol production of Kluai Nam Wa wine with Saccharomyces cerevisiae var. burgundy showed that when fermented Kluai Nam Wa wine with sugar 15 and 20 0 brix for 14 days and stopped the fermentation process, the alcohol concentration was 7.87±0.15% and 10.75±0.28%, respectively, dissolved solids were 6.53±0.25 and 8.93±0.38 0brix, respectively, reducing sugar, 1.83±0.31% and 2.13±0.15%, respectively, and pH 4.27±0.21 and 3.92±0.13, respectively. The vinegar was fermented under aerobic conditions with Acetobacter pasteurianus TISTR102 in trays at different alcohol concentrations at 6, 8 and 10 percent for 24 days. The fermentation from 8% of Kluai Nam Wa wine was the most suitable as it contained approximately 5.64±0.24% acetic acid, While the process and method of semi-septic fermentation of the operators fermented for 12 weeks, it was found that the acetic acid content was 3.36±0.08, which was lower than the community product standard.
|
Keyword |
Vinegar,Kluai Nam Wa,Fermentation |
กลุ่มของบทความ |
ชีววิทยา เกษตร และอาหาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|