รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
ชื่อบทความภาษาไทย |
การพัฒนาผลิตภัณฑ์มอสซาเรลล่าชีสแบบแท่งจากนมแพะ |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Product Development of Mozzarella Cheese Sticks from Goat Milk |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
อ.ดร.กัญญา สอนสนิท , ผศ.ดร.อุมาพร อาลัย, นายอานนท์ เรียงหมู่, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Kanya Sornsanit ,
Aumaporn Arlai,
Anon Riangmoo, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์มอสซาเรลล่าชีสแบบแท่งจากนมแพะ โดยการทดลองที่ 1 ศึกษาปริมาณเอนไซม์เรนเนทร้อยละ 1, 2 และ 3 ต่อคุณภาพมอสซาเรลล่าชีส พบว่าปริมาณเอนไซม์เรนเนท ร้อยละ 2 เหมาะสมต่อการทำมอสซาเรลล่าชีส เนื่องจากมีลักษณะเนื้อสัมผัสค่อนข้างนิ่ม คงรูปได้ดี และมีปริมาณผลผลิตไม่แตกต่างจากทรีตเมนต์อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การทดลองที่ 2 ศึกษาปริมาณไตรโซเดียมฟอสเฟตที่เหมาะสมร้อยละ 2, 4 และ 6 ต่อคุณภาพของมอสซาเรลล่าชีส พบว่าเมื่อปริมาณไตรโซเดียมฟอสเฟตเพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าความแข็ง ค่าความหนึบ และค่าความทนทานต่อการเคี้ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยปริมาณไตรโซเดียมฟอสเฟตที่เหมาะสม ร้อยละ 4 เพราะได้รับคะแนนความชอบด้านลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมมากที่สุด การทดลองที่ 3 ศึกษาปริมาณคาราจีแนนที่ ร้อยละ 0.5, 1 และ 1.5 แล้วนำมาทดสอบการคงตัวด้วยการวิเคราะห์การไหล พบว่าการเติมคาราจีแนนลงในผลิตภัณฑ์ชีสสติ๊กร้อยละ 1 และ 1.5 มีค่าการไหลต่ำและไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แลการทดลองที่ 4 ศึกษาการเติมเนยและหางนมผงเพื่อปรับปรุงรสชาติของชีสสติ๊กนมแพะ พบว่าการเติมเนยร้อยละ 5 ลงในผลิตภัณฑ์นั้นได้รับคะแนนความชอบทางประสาทสัมผัสมากที่สุดทั้งในด้านกลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวม และมีปริมาณโปรตีนลดลงมากที่สุด และไขมันเพิ่มขึ้นสูงที่สุด ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
มอสซาเรลล่าชีส,ชีสสติ๊ก,นมแพะ |
Abstract |
The objective of the research was to develop a mozzarella cheese stick from goat milk. The optimum of rennet enzyme for mozzarella cheese production was determined at the amount of 1%, 2%, and 3%, It was found that 2% rennet content was suitable for mozzarella cheese making, Due to its relatively soft texture, good formability and yields were not significantly different from other treatments (p>0.05). The optimum trisodium phosphate content of 2%, 4%, and 6% was determined. It was found that when the amount of trisodium phosphate increased, the hardness, gumminess and chewiness values were significantly increased (p<0.05). The optimum amount of trisodium phosphate was 4% because it received the highest scores for texture and overall preference. The stability was then studied by adding carrageenan to 0.5%, 1% and 1.5% cheese stick products and then analyze the meltability. It was found that adding carrageenan to 1% and 1.5 percent of cheese stick products had the lowest flow values and were not significantly different (p>0.05). Improve the taste of mozzarella cheese sticks by studying the addition of butter and whey powder. It was found that the addition of 5% butter to the products received the highest sensory satisfaction scores in terms of smell, taste and overall liking and has the lowest amount of protein and the highest fat increase which differed statistically (p<0.05).
|
Keyword |
Mozzarella Cheese,Cheese Stick,Goat Milk |
กลุ่มของบทความ |
ชีววิทยา เกษตร และอาหาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|