รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
ชื่อบทความภาษาไทย |
สมการของการประเมินพื้นที่ใบอย่างง่ายสำหรับกัญชาชนิดซาติวา (Cannabis sativa L.) |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Simple equation of leaf area estimation for Cannabis sativa L. |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
นางสาวอรพรรณ หัสรังค์ , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Orapan Hussarang , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การยอมรับกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการรักษาในประเทศไทยเป็นผลให้ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยทั้งทางด้านการปลูกและการใช้ประโยชน์ทางการรักษาเพิ่มขึ้น ซึ่งข้อมูลพื้นที่ใบเป็นส่วนสำคัญหนึ่งสำหรับการศึกษาทางด้านการเจริญเติบโตของกัญชา โดยวิธีการประเมินพื้นที่ใบที่แม่นยำมักเป็นการประเมินด้วยเครื่องอิเลคโทรนิคสำหรับประเมินพื้นที่ใบที่มีความน่าเชื่อถือสูง แต่มีข้อจำกัดทางด้านมูลค่าของเครื่องมือ จึงไม่เป็นที่นิยมในการนำมาใช้งานทั่วไป ซึ่งการใช้สมการความสัมพันธ์เชิงเส้นของความยาวและความกว้างใบเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับ เนื่องจากข้อมูลที่ได้เป็นที่ยอมรับ และมีวิธีการไม่ยุ่งยากรวมถึงไม่ทำลายใบ จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ในการหาสมการความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงของพื้นที่ใบจากความยาวและความกว้างใบกัญชาชนิดซาติวา (Cannabis sativa L.) ผลการทดลองที่ได้พบว่าตัวแปรที่ศึกษาทุกตัวของสมการความสัมพันธ์เชิงเส้นมีค่า R2 ในระดับที่ดีคือตั้งแต่ 0.6812 ขึ้นไป โดยสมการ LA = k (W x L) + a เป็นวิธีการที่ดีต่อการประเมินพื้นที่ใบกัญชามากที่สุด โดยมีค่า R2 มากกว่าสมการอื่น โดยให้ค่า R2 = 0.9022 ในขณะที่สมการอื่นมีค่า R2 ที่น้อยกว่า ดังนี้ LA = kL + a (R2 = 0.8316), LA = k (L2) + a (R2 = 0.8114), LA = kW + a (R2 = 0.7252) และ LA = k (W2) + a (R2 = 0.6812) ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าสมการดังกล่าวมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้สำหรับการประเมินพื้นที่ใบของกัญชาชนิดซาติวา โดยไม่ต้องทำลายใบหรือเด็ดใบออกจากต้น
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
พื้นที่ใบ ใบกัญชา สมการ |
Abstract |
Since cannabis is accepted for medical use in Thailand, it nowadays is increasing experiment for cannabis plantation and medical use. Leaf area is an important information for studying in physical growth. Actual leaf area normally is estimated by using leaf area measurement machine, but it is very high price which is not favor to use for general works. On the other hand, equation from the linear regression model by using width leaf and length leaf is accepted because the information is accepted and the method is not difficult. Moreover, it works without pinching the leaf. This experiment aimed to create the equation for leaf area estimation from width and length of Cannabis sativa L. The result showed that every factor in equation had good R2 which was higher than 0.6812. The equation which used W x L (LA = k (W x L) + a) had the highest R2 (0.9022). The others had lesser R2 such as LA = kL + a (R2 = 0.8316), LA = k (L2) + a (R2 = 0.8114), LA = kW + a (R2 = 0.7252) และ LA = k (W2) + a (R2 = 0.6812) respectively. In summary, the equation suited for estimation the leaf area of Cannabis sativa L. without pinching the leaf.
|
Keyword |
Leaf area, Cannabis leaf, Equation |
กลุ่มของบทความ |
ชีววิทยา เกษตร และอาหาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|