รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
ชื่อบทความภาษาไทย |
การพัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ถั่วเหลืองกรดโอลิอิกสูงที่ผ่านการปรับแต่งยีน FAD3A ด้วยเทคนิค Duplex PCR |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Development of detection method for FAD3A gene edited high oleic acid soybean by duplex PCR technique |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
นายวีระศักดิ์ พิทักษ์ศฤงคาร , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Weerasak Pitaksaringkarn , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
ถั่วเหลืองเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของโลก จัดอยู่ในพืชที่มีแหล่งอาหารที่สำคัญทั้งโปรตีนและไขมัน แต่ไขมันที่ได้จากถั่วเหลืองเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสูงทำให้การเก็บรักษาได้ไม่นาน ซึ่งในกระบวนการอุตสาหกรรมจึงมีการเติมไฮโดรเจนเพื่อเพิ่มอายุการเก็บรักษา แต่เนื่องจากการเติมไฮโดรเจนทำให้เกิดไขมันทรานส์ (Tran-fatty acid) โดยไขมันชนิดนี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและคอเลสเตอรอลในเลือดสูง จากการศึกษากระบวนการสังเคราะห์กรดไขมันในถั่วเหลือง พบว่าการปรับแต่งยีน Fatty Acid Desaturase (FAD2) และ (FAD3) สามารถควบคุมกระบวนการสังเคราะห์กรดไขมันไม่อิ่มตัวในถั่วเหลืองได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ถั่ว-เหลืองกรดโอลิอิกสูงที่ผ่านการปรับแต่งยีนด้วยเทคนิค Duplex PCR ผลการทดสอบคู่ไพรเมอร์ที่ใช้ทดสอบในปฏิกิริยาพีซีอาร์กับ ดีเอ็นเอต้นแบบของถั่วเหลืองที่ไม่ได้ผ่านการปรับแต่งจีโนมเปรียบเทียบกับดีเอ็นเอต้นแบบของถั่วเหลืองที่ผ่านการปรับแต่งจีโนมในยีน FAD3A ในปฏิกิริยาแบบยีนเดียว (Simplex PCR) พบว่าคู่ไพรเมอร์ FAD3_T1F และ FAD3_T1R มีความจำเพาะเจาะจงต่อถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการปรับแต่งจีโนม และเมื่อเพิ่มคู่ไพรเมอร์ LectinF และ LectinR เข้าไปในปฏิกิริยาพีซีอาร์ในคู่ไพรเมอร์ของ FAD3_T1 ในปฏิกิริยาแบบ 2 ยีน (Duplex PCR) และทำการปรับอุณหภูมิในขั้นตอน Annealing พบว่าที่อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส ทำให้เห็นแถบดีเอ็นเอขึ้น 2 แถบได้ชัดเจนที่สุดเมื่อนำผลผลิตพีซีอาร์มาตรวจสอบด้วยวิธีเจลอิเล็กโทรโฟรีซิส (Gel electrophoresis)
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ถั่วเหลือง,ปรับแต่งจีโนม ,กรดโอลิอิก,ยีน FAD3A |
Abstract |
Soybeans are one of the world's most economically important crops. It were classified in plants that are important food sources of protein and fat. However fat from soybeans is highly polyunsaturated fat which is the cause of shorter shelf life. In the industrial process, hydrogen is utilized to increase shelf life, but since hydrogenation produces trans fats (Tran-fatty acid), this type of fat has a huge impact on the consumer health. Because it may increase the risk of heart disease and high blood cholesterol. From the study of fatty acid biosynthesis pathway in soybeans, it was found that Fatty Acid Desaturase (FAD2) and (FAD3) genes were able to regulate the polyunsaturated fatty acid synthesis in soybeans. The purpose of this research is to develop a technique for detection the high-oleic-acid in the mutated soybeans which is undergone the duplex Polymerase chain reaction (PCR) technique based on the results of a primer pair test used in PCR reaction. The wild type soybean DNA was compared with the synthetic gene edited soybean DNA in the FAD3A gene in a single-gene reaction (Simplex PCR). Specific DNA band of FAD3A gene was not found in mutant. The LectinF and LectinR primer pairs were added to the PCR reaction in the FAD3_T1 primer pair in the duplex PCR reaction, and adjusted in the annealing step at 56 °C, The two DNA bands were most clearly visible in wild type soybean while in mutant showed single DNA band in gel electrophoresis.
|
Keyword |
Soybean, genome editing, oleic acid, FAD3A gene |
กลุ่มของบทความ |
ชีววิทยา เกษตร และอาหาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|