รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา ชีววิทยา เกษตร และอาหาร

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ผลผลิต การแบ่งส่วน และการดูดใช้ฟอสฟอรัสในถั่วฝักยาวไร้ค้างสองสายพันธุ์ที่ปลูกในชุดดินเสนา
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Yield, Partitioning and Uptake of Phosphorus in Two Varieties of Dwarf Yard Long Bean Planted in Sena Soil Series
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นายสายชล สุขญาณกิจ , นายศานิต สวัสดิกาญจน์,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Saychol Sukyankij , Sanit Sawatdikarn,
 บทคัดย่อภาษาไทย
ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่สำคัญในการเจริญและพัฒนาของพืช มีบทบาทในการพัฒนาของราก การติดดอกและให้ผลผลิต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาการให้ปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและการดูดใช้ฟอสฟอรัส อีกทั้งศึกษาการแบ่งส่วนของฟอสฟอรัสในเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของถั่วฝักยาวไร้ค้าง วางแผนการทดลองแบบ 2x2 factorial in CRD ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 2 ปัจจัย คือสายพันธุ์ถั่วฝักยาวไร้ค้าง ได้แก่ KKU25 และ CLGC30 และปัจจัยรอง 2 ปัจจัย คือการไม่ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส (-P) และใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส (+P) ที่อัตราแนะนำ 24 กก. P2O5/ไร่ ผลการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสส่งผลให้ผลผลิตถั่วฝักยาวไร้ค้างเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านการแบ่งส่วนของฟอสฟอรัสนั้น พบว่าความเข้มข้นของฟอสฟอรัสในถั่วฝักยาวไร้ค้างมีการกระจายในเนื้อเยื่อส่วนฝักสูงสุด โดยมีค่าพิสัยของการกระจายอยู่ระหว่าง 46.3-50.2 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือส่วนใบ ราก และลำต้น ตามลำดับ ถั่วฝักยาวไร้ค้างพันธุ์ CLGC30 มีชีวมวลรวม 104 กรัม/ต้น ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ KKU25 (65.7 กรัม/ต้น) นอกจากนี้ถั่วฝักยาวไร้ค้างพันธุ์ CLGC30 ยังมีค่าการดูดใช้ฟอสฟอรัสรวม (553 มก./ต้น) สูงกว่าพันธุ์ KKU25 ที่มีค่าการดูดใช้ฟอสฟอรัสรวม 357 มก./ต้น ขณะที่การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสให้ค่าการดูดใช้ฟอสฟอรัส (474 มก./ต้น) สูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส (436 มก./ต้น)
 คำสำคัญภาษาไทย ฟอสฟอรัส,ผลผลิต,การแบ่งส่วน,การดูดใช้,ถั่วฝักยาวไร้ค้าง
 Abstract
Phosphorus (P) is an important element in growth and development of plant. It had role in root development, flower formation and production of yield. The objective of this research was to study the effect of phosphorus fertilizer on growth, yield, P uptake and partitioning of P in different parts of dwarf yard long bean. The experimental design was carried out in 2x2 factorial in CRD, which the first factor was dwarf yard long bean varieties such as KKU25 and CLGC30 and the second factor was no P fertilizer (-P) and P fertilizer at recommended rate (24 kg. P2O5/rai) (+P). The results showed that the application of P fertilizer was increased yield significant difference. The partitioning of P in plant found that the distribution of P had the highest value in pod tissue with the range from 46.3-50.2 percent, followed by leave, root and stem respectively. The variety of CLGC30 had total biomass (104 g/plant) higher than KKU25 (65.7 g/plant). In addition, the variety of CLGC30 had also total P uptake (553 mg/plant) higher than KKU25 (357 mg/plant) and the application of P fertilizer (474 mg/plant) provided the higher of P uptake than no P fertilizer treatment (436 mg/plant).
 Keyword Phosphorus,yield,partitioning,uptake,dwarf yard long bean
 กลุ่มของบทความ ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565