รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์
ชื่อบทความภาษาไทย |
อัตราการสูบบุหรี่ซ้ำ และสาเหตุการสูบซ้ำในผู้ที่ลงมือเลิกบุหรี่โดยการได้รับคำแนะนำแบบกระชับ: กรณีศึกษาชุมชนในจังหวัดนครปฐมและจังหวัดระยอง |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Relapse smoking rate and causes of relapse smoking among smokers provided brief advice: a case study of communities in Nakhon Pathom and Rayong provinces |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
นายกมลภู ถนอมสัตย์ , นางสาวพรอุษา เมืองสมัย, นางสาวอาภัสรา ศรีสุวรรณ์, นางสาวหทัยภัทร เกียรตินอก, นางสาวพิมพ์อัปสร โถปัญญา, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Kamollabhu Thanomsat , Pornusa Muangsamai, Apasara Srisuwan, Hathaiphat Kiatnok, Pimupsorn Thopanya, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของด้านสุขภาพโรคเรื้อรังมากมาย รวมถึงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้โรคโควิด-19 มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว สถานการณ์การสูบบุหรี่ในจังหวัดนครปฐมยังสูงกว่าเกณฑ์ที่ประเทศกำหนด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการสูบบุหรี่ซ้ำ และสาเหตุการสูบซ้ำในผู้ที่ลงมือเลิกบุหรี่โดยการได้รับคำแนะนำแบบกระชับโดยอสม. การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นสูบบุหรี่ประจำจำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการสูบบุหรี่ ดัชนีการสูบบุหรี่ ระยะของการสูบบุหรี่ ข้อคำถามประเมินสถานภาพการสูบบุหรี่ และแบบสอบถามสาเหตุการกลับมาสูบซ้ำ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (SCVI/Ave) เท่ากับ .89 และความเที่ยงเท่ากับ .87วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า พบว่ากลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งกลับมาสูบบุหรี่ซ้ำ (ร้อยละ 52.78) สำหรับสาเหตุที่กลับมาสูบซ้ำ เรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ สิ่งกระตุ้นทางอารมณ์ สิ่งกระตุ้นทางสังคม สิ่งกระตุ้นทางแบบแผนการดำเนินชีวิต และอื่น ๆ (ร้อยละ 100.00, 98.42, 52.63 และ 42.11 ตามลำดับ ผลการศึกษา พยาบาลชุมชนสามารถนำไปพัฒนาระบบการช่วยเลิกบุหรี่โดยการกำจัดสาเหตุการสูบซ้ำ |
|
คำสำคัญภาษาไทย |
อัตราการ สูบบุหรี่ซ้ำเลิกบุหรี่ คำแนะนำแบบกระชับ |
Abstract |
Tobacco is a health risk factor for many chronic diseases, including being a risk factor for COVID-19. The smoking prevalence in Nakhon Pathom Province is still higher than the national indicators. This study aims to investigate the relapse smoking rate and the reasons for the relapse smoking among smokers provided brief advice by the Village health volunteers. This study is descriptive research. The sample consisted of 36 regular smokers. Research instruments consist of demographic data questionnaire, smoking information questionnaire, Heaviness of Smoking Index (HSI), 7-day point prevalence abstinence at 90 days, and the relapse smoking questionnaire. The scale content validity (S-CVI/Ave) and the reliability were .89, .87, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics. The research results illustrated that was found that 52.78% of participants relapsed to use tobacco smoking. For a return to smoking cause, the most common factors triggering relapse were emotional triggers (100%), social triggers (98.42%), pattern triggers (52.63%), and others (42.11%). The study results can be implemented as a basis for developing a smoking cessation service system by eliminating the causes of relapse smoking by community nurses |
Keyword |
Relapse smoking rate, smoking cessation, brief advice |
กลุ่มของบทความ |
การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค New Normal |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
8 - 9 กรกฎาคม 2564 |
|
|