รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์
ชื่อบทความภาษาไทย |
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันแกร๊ปฟู้ด (Grabfood) และ ฟู้ดแพนด้า(Foodpanda) |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The effective comparison of the service ordering food between application Grabfood and Foodpanda |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
อ.ดร.ปราณี สีนาค, นางสาวกาญจนาภรณ์ เดิมลิ่ม, นางสาวสุภัชสรา น้อยเลิศ , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Pranee Seenak, Kanjanapron Doemlim, Suphatsara Noiloed , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันแกร๊ปฟู้ด (GrabFood) และฟู้ดแพนด้า (Foodpanda) ของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครปฐม และ 2) ศึกษากุลยุทธ์ทางการตลาดของแอปพลิเคชันแกร๊ปฟู้ด (GrabFood) และฟู้ดแพนด้า (Foodpanda) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบเจาะจง คือ นักศึกษาและบุคลากรจาก 3 มหาวิทยาลัยในจังหวัดนครปฐม ที่เป็นผู้ใช้แอปพลิเคชัน แกร๊ปฟู้ด (GrabFood) และฟู้ดแพนด้า (Foodpanda) รวมทั้งสิ้น 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ โดยแบ่งเป็นการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 90 คน และการสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 6 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า แอปพลิเคชันแกร๊ปฟู้ด (GrabFood) ได้รับความพึงพอใจมากกว่าแอปพลิเคชันฟู้ดแพนด้า (Foodpanda) ในทุก ๆ ด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านประสิทธิภาพ ด้านค่าบริการมีความเหมาะสม ค่าบริการมีความคุ้มค่าต่อการให้บริการ ด้านระยะเวลาในการบริการจัดส่งอาหาร คุณภาพสินค้าเมื่อถึงมือลูกค้า รูปแบบการใช้งานที่ง่าย ด้านกลยุทธ์ทางการตลาด และแอปพลิเคชันมีระบบป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ประสิทธิภาพ,เดลิเวอรี่,แอปพลิเคชัน |
Abstract |
Abstract
The purposes of this research were to 1) compare the efficiency and cost-effectiveness of ordering food delivery via GrabFood and Foodpanda application of personnel in higher education institutions in Nakhon Pathom Province and 2) study the marketing strategies of GrabFood and Foodpanda application. The samples used in the study, selected by purposive random sampling, comprised 96 students and personnel of three universities in Nakhon Pathom Province using GrabFood and Foodpanda application. The research tools consisted of questionnaires and interviews. The questionnaires were distributed to 90 people, and the interviews were carried out with six people of the samples. The statistics used to analyze the data were descriptive statistics: frequencies distraction, percentage and standard deviation.
The findings showed that the Grabfood application gained more satisfaction than the Foodpanda application in every aspect, including efficiency of application, appropriateness of service fee, worth of service fee, duration of food delivery service, quality of product when delivered to customers, ease of use, marketing strategies and prevention system of error that might occur in the application.
|
Keyword |
effective,ordering,application |
กลุ่มของบทความ |
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
8 - 9 กรกฎาคม 2564 |
|
|