รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การกำหนดขีดความสามารถด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกในการรองรับ การใช้ประโยชน์พระพุทธบาทพลวง อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Physical and Facility Carrying Capacity Determination at Phra Phutthabat Phluang in Khao Khitchakut National Park , Chanthaburi Province
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวไพลิน เม้งเกร็ด ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Pailin Mengkret ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อ
          การศึกษาขีดความสามารถด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกในการรองรับการใช้ประโยชน์บริเวณพระพุทธบาทพลวง อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดขีดความสามารถสูงสุดในการรองรับด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก และเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับการใช้ประโยชน์กับขีดความสามารถทางด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดการที่เหมาะสม โดยศึกษาพื้นที่การใช้ประโยชน์หลักบนพระพุทธบาทพลวง ได้แก่ ลานพระสีวลี และลานพระพุทธบาท รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจขนาดพื้นที่ จำนวนห้องสุขาและลักษณะการประกอบกิจกรรมของนักท่องเที่ยวเพื่อนำไปคำนวณหาขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก
          การศึกษาพบว่า ขีดความสามารถรองรับด้านกายภาพบริเวณลานพระสิวลีและลานพระพุทธบาท มีค่าขีดความสามารถสูงสุดรองรับได้ 367 และ 280 คน/ช่วงเวลาเดียวกัน หรือ 1,101 และ 560 คน/ชั่วโมง สามารถรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวในภาพรวมของทั้งสองพื้นที่คือ 1,661 คน/ชั่วโมง ในขณะที่ห้องสุขาตามจุดต่างๆ รองรับนักท่องเที่ยวได้ 1,148 คน/ชั่วโมง ดังนั้น ขีดความสามารถสูงสุดของพระพุทธบาทพลวงเมื่อพิจารณาปัจจัยด้านกายภาพคือขนาดพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกหลักคือห้องสุขา สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 1,148 คน/ชั่วโมง โดยมีจำนวนห้องสุขาเป็นปัจจัยจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุดที่รองรับได้ การใช้ประโยชน์ปัจจุบันพบว่าเกินขีดความสามารถในการรองรับในช่วงเวลาระหว่าง 06:00-09:00 น. อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏควรมีกลไกบริหารจัดการเพื่อควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวให้เป็นไปตามขีดความสามารถรองรับที่กำหนดและติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกำหนดขีดความสามารถรองรับการใช้ประโยชน์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
 คำสำคัญภาษาไทย ขีดความสามารถด้านกายภาพ, พระพุทธบาทพลวง, สิ่งอำนวยความสะดวก, อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ
 Abstract
Abstract
               The objectives of this study were to determine the maximum physical and facility carrying capacities at Phra Phutthabat Pluang in Khao Khitchakut National Park, evaluate the visitor use level if it exceeded the maximum carrying capacity, and give suggestions to control use level within the limits of carrying capacity.  Lan Phra Si Phralee and Lan Phra Phutthabat, the main use sites at Phra Phutthabat Pluang, were selected as study sites. The data were collected by survey method to acquire the area able to accommodate use of visitors and do the inventory of toilets as well as explore visitor activities during their visit at Phra Phutthabat Pluang so that physical and facility carry capacities can be calculated.
                The results showed that the physical carrying capacity of Lan Phra Si Phralee and Lan Phra Phutthabat were 367 and 280 people at one time or 1,101 and 560 person/hour, respectively. Thus, making the maximum number of visitors for the total area of Phra Phutthabat Pluang was 1,661 person/hour regarding the physical carrying capacity alone.  The maximum number of visitors that the toilets could accommodate were calculated at 1,148 person/hour. Therefore, the maximum number of visitors regarding the facility and physical capacities were set as 1,148 person/hour considering toilet as the limiting factor in this case.  The present use found over the limits of carrying capacity during morning hours. Khao Khitchakut National Park should set up the appropriate means and management system for controlling visitor use according to the maximum carrying capacity and monitor the effect of applying carrying capacity to all stakeholders.
 Keyword Facility Carrying Capacity, Physical Carrying Capacity, Phra Phutthabat Phluang, Khao Khitchakut National Park
 กลุ่มของบทความ การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการ
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564