รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การวิเคราะห์สภาพการณ์การท่องเที่ยวพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดตรัง
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Analysis on Tourism Situation in the Coastal Areas of Trang Province
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นายดุสิตพร ฮกทา ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Dusitporn Hokta ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการท่องเที่ยวพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดตรัง โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์
กึ่งโครงสร้าง เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้แทนชุมชน รวมทั้งสิ้น 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  
            ผลการศึกษาพบว่า ด้านจุดแข็งของการท่องเที่ยวพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดตรังมีแหล่งทรัพยากรท่องเที่ยว ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มีแหล่งหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์ และแหล่งพะยูนแห่งเดียวของทะเลอันดามัน มีระบบคมนาคมขนส่งที่ครอบคลุมทุกด้าน มีสินค้าของที่ระลึกประจำจังหวัดที่สร้างชื่อเสียง จังหวัดตรังเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของภาคใต้ฝั่งอันดามัน และมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งทางบกและทางทะเล
            ด้านจุดอ่อนของการท่องเที่ยวพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดตรังมีโครงสร้างพื้นฐานหลักและเส้นทางคมนาคมไม่เพียงพอและไม่ได้มาตรฐาน ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวขาดการต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่า ขาดมัคคุเทศก์ที่มีความรู้ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศ กิจกรรมการท่องเที่ยวแปลกใหม่มีจำนวนน้อย งบประมาณไม่ต่อเนื่องและเพียงพอส่งผลต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีความสวยงาม และได้มาตรฐาน ตลอดจนขาดการอนุรักษ์และจัดการด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิตให้เกิดความยั่งยืน
            ด้านโอกาสของการท่องเที่ยวพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดตรังเกิดจากการเติบโตของกลุ่มประเทศ BRIC รัฐบาลให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยว จังหวัดตรังอยู่ในพื้นที่ความร่วมมือของกลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจ IMT-GT ความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทำให้เข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวได้ดียิ่งขึ้น นักท่องเที่ยวที่นิยมเดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมไปถึงกระแสการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
           ด้านอุปสรรคของการท่องเที่ยวพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดตรังเกิดจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจโลกและในประเทศ การเกิดภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ โรคระบาด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก การแข่งขันและแย่งชิงนักท่องเที่ยวของจังหวัดใกล้เคียง และประเทศเพื่อนบ้าน การบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวขาดความต่อเนื่อง ตลอดจนข้อจำกัดด้านกฎหมายในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในเขตอุทยานของจังหวัดตรัง
 คำสำคัญภาษาไทย สภาพการณ์,พื้นที่ชายฝั่งทะเล,จังหวัดตรัง
 Abstract
          This research aims to analyze strengths, weaknesses, opportunities, and obstacles of tourism in Trang coastal areas through qualitative research, data collection from documentary research, and in-depth interview. The research tool on semi-structured interview has been employed to select 17 particular interviewees from governmental agencies, private sectors, and community representatives for content analysis.
            The study results show that the strengths of tourism in Trang coastal areas consist of unique tourism resources, traditions, and culture, abundant seagrass resources, a sole residence of Dugong in Andaman Sea with an all-round transportation system and renowned provincial souvenirs. Trang province is regarded as the center of ecotourism for Southern Andaman Sea with a variety of tourism activities both onshore and offshore.
            On the contrary, the weaknesses of Trang coastal areas tourism compose of insufficient and below- standard infrastructure and transportation routes, the lacks of value-added tourism resources development and foreign languages proficiency tour guides, a small number of exotic tourism activities, an inconsistent and inadequate budget allocation affecting tourist attractions development on beauty and standard criteria as well as the shortage of conservation and management for sustainable culture and ways of life.
            In terms of opportunities, the tourism in Trang coastal areas has emerged from the growth of BRIC. The government emphasizes on tourism. Since Trang Province is located on the collaboration area of ​​the Economic Development Group, IMT-GT, technology advancements have enabled better approach to tourists. Travelers preferred short trips and the popularity of ecotourism trend are likely to increase.
            Lastly, the obstacles of Trang coastal areas tourism are caused by the global and domestic economic recession, occurrences of disasters, natural disasters, epidemics and global climate change along with tourist competition and snatching from neighboring provinces and countries, intermittent tourism management, and legal restrictions on tourist attractions developments in Trang national park.
 Keyword Situations ,Coastal Areas,Trang province
 กลุ่มของบทความ การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการ
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564