รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนาไส้ขนมจากผลหม่อน
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Filling Development from Mulberry Fruit
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.ดร.อรุโณทัย เจือมณี ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Arunothai Juemanee ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
ผลหม่อนเป็นผลไม้ที่ประกอบไปด้วยสารพฤกษเคมีหลากหลายชนิด มีรสเปรี้ยวอมหวานเหมาะแก่การนำมาแปรรูปเป็นไส้ขนมหรือท๊อปปิ้งที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ จึงทำการพัฒนาไส้ขนมโดยศึกษาปริมาณสารให้ความข้นหนืด (แป้งมันสำปะหลังดัดแปรและแซนแทนกัม) พบว่าสูตรที่ใช้แป้งมันสำปะหลังดัดแปรและแซนแทนกัม 2 และ 0.1 กรัม ตามลำดับ ให้ลักษณะปรากฏของผลิตภัณฑ์ไส้ขนมที่ดีที่สุดและได้รับความชอบโดยรวมมากกว่าไส้ขนมทางการค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อทำการพัฒนารสชาติ ความหนืดและการกระจายตัวของเนื้อผลหม่อน โดยการศึกษาปริมาณกรด (0.8, 0.6 และ 0.5 กรัม) และแป้งมันสำปะหลังดัดแปร (3, 4 และ 4.5 กรัม) พบว่าสูตรที่ใช้กรดซิตริก 0.5 กรัม และแป้งมันสำปะหลังดัดแปร 4.5 กรัม เป็นสูตรที่มีลักษณะปรากฏที่ดี มีความหวานและความเปรี้ยวใกล้เคียงกับแนวคิดผลิตภัณฑ์มากที่สุด และพบว่าการปั่นผลหม่อน (ร้อยละ 50) ช่วยให้ไส้ขนมได้รับคะแนนความชอบโดยรวมสูงที่สุด เมื่อเทียบกับสูตรที่ไม่มีการปั่นผลหม่อนและสูตรทางการค้า (p<0.05) อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตขนมอบให้ข้อเสนอแนะว่ายังควรเพิ่มปริมาณเนื้อหม่อน ลดความเปรี้ยว เพิ่มความหวานร่วมกับการใช้เกลือเพื่อเพิ่มรสกลมกล่อม จึงทำการปรับสูตรใหม่และได้สูตรที่มีลักษณะปรากฏที่ดี อีกทั้งมีรสชาติ และความหนืดที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ขนมอบ เป็นแนวทางการทดแทนการนำเข้าไส้ขนมจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นทางเลือกของผู้รักสุขภาพในการบริโภคผลิตภัณฑ์จากผลหม่อนอีกด้วย
 คำสำคัญภาษาไทย ไส้ขนม,ผลหม่อน,ขนมอบ
 Abstract
Mulberry fruit contains a wide variety of phytochemicals. Also, sweet and sour taste which suitable for produce filling and toppings product uses with various food products. This research was to develop the filling by studying the amount of thickening agent (Modified Tapioca Starch-MTS and Xanthan Gum) and found that the use of 2 g of modified tapioca starch and 0.1 g of xanthan gum provided good appearance and gained overall liking score higher than commercial filling (p<0.05). The taste, viscosity and distribution of mulberry pulp were studied with various amount of citric acid (0.8, 0.6 and 0.5 g) and MTS (3, 4 and 4.5 g). It was found that the using 0.5 g of citric acid and 4.5 g of MTS were of good appearance, the sweetness and sourness are closest to the product concept. And also found that blending the mulberry fruit (50%) provided the highest overall liking score compared with the no-blended mulberry and commercial formulas (p<0.05). However, bakery makers suggested that the mulberry content and sweetness should still be increased whereas the sourness should be reduced. Moreover, they suggested that should be use of salt for better flavor. The new formula was adjusted and resulted in the better appearance, taste and viscosity which suitable for use in baked products. This may substitute for imported filling product from abroad. It is also the choice for health lovers to consume mulberry products as well.
 Keyword Filling, Mulberry fruit, Bakery
 กลุ่มของบทความ ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564