รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้อุปสรรคและพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ โคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ของสตรีตั้งครรภ์ในจังหวัดชายแดนใต้
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Perceived Risks, Perceived Barriers and Preventive Behaviors on The Coronavirus 2019 (COVID-19) among Pregnant Women at Southern Border provinces
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวนิอารีนี กูทา ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Ni-areenee Kuta ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
สตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มีความเสี่ยงในการได้รับผลกระทบจากเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) แต่ยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้อุปสรรค และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้อุปสรรคและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ในจังหวัดชายแดนใต้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของสตรีตั้งครรภ์ แบบวัดการรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) แบบวัดการรับรู้อุปสรรคการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) และแบบวัดพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) พัฒนาเครื่องมือขึ้นมาจากการทบทวนวรรณกรรมโดยประกอบด้วย 10 ด้าน ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO, 2020) กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ จำนวน 127 ราย ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ผ่านกูเกิลฟอร์ม Google forms ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึง 16 มีนาคม 2564 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience sampling)  
ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความเสี่ยงฯ จัดอยู่ในระดับสูง เท่ากับ 71.24 คะแนน (S.D=7.68) จากการแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง และสูงมาก คะแนนเฉลี่ยการรับรู้อุปสรรคฯ อยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ 43.52 (S.D=8.85) จากการแบ่งเป็น 5 ระดับ เหมือนการรับรู้ความเสี่ยงฯ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมฯ เท่ากับ 78.9 (S.D=6.56) จัดอยู่ในระดับสูง จากการแบ่งเป็น 5 ระดับ เหมือนการรับรู้ความเสี่ยงฯ และการรับรู้อุปสรรคฯ จากสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนการรับรู้ความเสี่ยงการป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .294, p < .001) และการรับรู้อุปสรรคการป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (r = .068, p = .447)
ข้อเสนอแนะ ควรมีการให้สุขศึกษาแก่สตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 นอกจากนั้นควรมีการสำรวจในทำนองเดียวกันในสตรีตั้งครรภ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อื่น
 คำสำคัญภาษาไทย การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้อุปสรรค พฤติกรรมการป้องกัน สตรีตั้งครรภ์ โคโรน่าไวรัส 2019
 Abstract
Pregnant women and their fetuses are at risk from coronavirus 2019 (COVID-19). However, there is no empirical evidence about Thai pregnant women’s Perceived Risks, Perceived Barriers and Preventive Behaviors on The Coronavirus 2019 (COVID-19). This study aimed to examine the relationship between Perceived Risks, Perceived Barriers and Preventive Behaviors on The Coronavirus 2019 (COVID-19) among Pregnant Women at Southern Border provinces. The instruments of this study included: (1) The demographic data questionnaire (2) The Perceived Risks in Pregnancy Scale (3) The Perceived Barriers in pregnancy Scale (4) The Preventive Behaviors in Pregnancy Scale. The participants included 127 pregnant women at Pattani Province,  Yala Province, and Narathiwat Province, Using online questionnaires via google forms. during March 1th, to March 16th 2021 Participants were recruited using convenience sampling.
The results showed that the average perceived risks score was 71.24 (S.D.= 7.68) This indicated a high level of perceived risks on 5 levels of very low, low, moderate, high and very high. The average perceived barriers score was 43.52 (S.D.= 8.85) This indicated a moderate level of perceived barriers on 5 levels of very low, low, moderate, high and very high. The average score on behavior was 78.9 (S.D. = 6.56). This score also indicated a high level of behavior based on 5 levels similar to the perceived risks test and perceived barriers test. Based on Spearman’s rank correlation coefficient, perceived risks, was significantly correlated with preventive behaviors (r = .294, p < .001) and perceived barriers, was non-significantly correlated with preventive behaviors (r = .068, p = .447)
It is suggested that health education about coronavirus, especially on the topic of Perceived Barriers to preventive on The Coronavirus 2019 (COVID-19). In addition, this study should be conducted with pregnant women living in rural areas.
 Keyword Keywords: Perceived Risks, Perceived Barriers, Preventive Behaviors, The Coronavirus 2019 (COVID-19), Pregnant Women
 กลุ่มของบทความ การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค New Normal
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564