รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยพยาบาลแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลน่าน
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Development of the Triage Model by Emergency Nurses in Nan Hospital
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางนัทชา จงศิริฉัยกุล , ผศ.ดร.พรรณพิมล สุขวงษ์,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Nutcha Jongsirichaigul , Panpimol Sukwong,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยพยาบาลในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลน่าน เป็นการการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการคัดแยกผู้ป่วยเพื่อพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย 3) การนำรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยไปใช้และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยวิธีการหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
            1. ปัญหาและความต้องการในการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาลแผนกฉุกเฉิน มี 2 ด้าน คือ ด้านรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน และ 2) ด้านคุณลักษณะและสมรรถนะพยาบาลผู้คัดแยกผู้ป่วย
            2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยแบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) ด้านการเตรียมความรู้และความพร้อมของพยาบาลผู้ทําหน้าที่คัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน 2) เครื่องมือในการคัดแยกผู้ป่วยตามบริบทโรงพยาบาลน่าน 3) สมรรถนะและภาระงานของพยาบาลผู้คัดแยกผู้ป่วย การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยและเครื่องมือประเมิน  พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
            3. ผลการนำรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยไปใช้ พบว่า พยาบาลมีคะแนนความรู้ภายหลังการฝึกอบรมเพิ่มขึ้น มีประสบการณ์จริงในการคัดแยกผู้ป่วย ผลการคัดแยกผู้ป่วยมีข้อผิดพลาดลดลง มีความรู้สึกมั่นใจ เห็นคุณค่าและตระหนักเรื่องการคัดแยกผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น และสมาชิกสหสาขาวิชาชีพที่ร่วมปฏิบัติงานแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องกระบวนการและหลักการคัดแยกผู้ป่วยเพิ่มขึ้น มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันเพิ่มขึ้น
            4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย ผู้เข้าอบรมสะท้อนว่า กิจกรรมรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยทำให้ตนเองมีความรู้ ความเข้าใจและความมั่นใจเรื่องการคัดแยกผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เครื่องมือและแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นช่วยในการตัดสินใจในการปฏิบัติงานดีขึ้น ลดการผิดพลาด รู้สึกมีความสุขและเห็นคุณค่าในการปฏิบัติของตนเองมากขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นว่าหลักสูตรสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงเหมาะสมกับบริบทโรงพยาบาลน่าน
 
 
 คำสำคัญภาษาไทย พยาบาล, รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย, แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน
 Abstract
This research aims were develop the triage model by emergency nurses in Nan hospital. This study was conducted through research and development. The four steps were as follows: 1) studying of problem and the basic needs of the triage, 2) constructing model and verifying model quality, 3) Applying the model with nurses, and 4) Evaluating model. Quantitative data analyzed by means of mean and percentage and qualitative data analyzed using content analysis. The results were found that: 1. The triage basic needs have 2 aspects: 1) the triage model and 2) characteristics and competency of triage nurses. The results led to design, create the model in step 2.         
            2. Constructing model and verifying model quality. The model consisting of 3 elements. 1) knowledge preparation and readiness of triage nurses, 2) The triage tools according to the context of Nan hospital, and 3) Competency and workload of triage nurses. The examination of model quality and tools found that the model and tool were appropriate at high level.                                                                        
           3. The results of the model application were found that; the nurses have increased knowledge, attitudes and appreciation in caring for the elderly, have triage experienced, decreased in the triage error, Have a feeling of confidence, increased value and awareness of triage. The multidisciplinary members who participating in the emergency department have a better understanding of the process and principles of triage, and have a better relationship with each other.                                                                                            
            4.The evaluation of the model were found that the participants reflected that model activities made themselves educated. Increased understanding and confidence. Triage tools and assessments help make better operational decisions. Reduce mistakes, happier and more self-worth. The stakeholders saw that the model was practical and appropriate to Nan context.
 Keyword Nurse, Triage model, Emergency Department
 กลุ่มของบทความ สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564