รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การไพโรไลซิสเปลือกมะละกอและเปลือกกล้วยน้ำว้า
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Pyrolysis of papaya peels and cultivated banana peels
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นายอนุชา ขัติพงษ์, นางสาวธัญญลักษณ์ แย้มศักดิ์, นางสาวกนกพร สาริกานนท์, นางสาวอรไททิพ ต่วนเครือ, นางสาวอังคณา มีศิริ , ผศ.ดร.เอกราชันย์ ไชยชนะ ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Anucha Khadthiphong, Thunyaluk Yamsak, Kanokporn Sarikanont, Orathaithip Tuancreau, Ankana Meesiri, Ekrachan Chaichana ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
เปลือกของผลไม้ที่นิยมรับประทานในครัวเรือน ได้แก่ เปลือกมะละกอและเปลือกกล้วยน้ำว้า ถูกนำมาผ่านการไพโรไลซิสเพื่อเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าและเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัสดุทั้ง 2 ชนิด โดยทำการไพโรไลซิสโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์โลหะขนาด 1 ลิตร ที่อุณหภูมิ 400, 500 และ 600°C พบว่าเปลือกมะละกอให้ปริมาณผลผลิตน้ำมันชีวภาพมากกว่าเปลือกกล้วยน้ำว้าในทุกอุณหภูมิ อย่างไรก็ตามน้ำมันชีวภาพจากเปลือกกล้วยน้ำว้ามีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสมในการนำไปใช้งานมากกว่า และพบว่าน้ำมันดังกล่าวมีค่า pH 4 และมีค่าความร้อนเท่ากับ 31.46 MJ/kg ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานน้ำมันปิโตรเลียมแต่สูงกว่าชีวมวลทั่วไปที่เคยมีการศึกษา ดังนั้นการนำไปใช้งานอาจต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพก่อน เช่น กระบวนการขจัดออกซิเจน
 คำสำคัญภาษาไทย การไพโรไลซิส น้ำมันชีวภาพ เปลือกมะละกอ เปลือกกล้วยน้ำว้า
 Abstract
Household fruit peels i.e. papaya peels and cultivated banana peels were pyrolysed to convert into valued products and to lower environmental impact from these materials. The pyrolyses were conducted using 1 L metal reactor at 400, 500 and 600°C. It was found that the papaya peels gave higher amounts of bio-oil than the cultivated banana peels at every temperature. Nevertheless, the obtained bio-oils from the banana peels had a better physical appearance, suitable for practical used. The cultivated banana bio-oil had a pH value of 4 and a heating value of 31.46 MJ/kg and, which is lower than that of the standard petroleum oil but higher than those of the other biomass previously studied. Therefore, for practical use the obtained bio-oil needs to be improved through some processes e.g. deoxygenation.      
 Keyword pyrolysis, bio-oil, papaya peels, cultivated banana peels
 กลุ่มของบทความ วิทยาศาสตร์กายภาพ
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564