รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ผลการจัดการเรียนรู้เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAI
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) THE EFFECT OF COOPERATIVE LEARNING BY TAI TECHNIQUEON ANALYTIC GEOMETRY IN MATHEMATICS LEARNING ACHIEVEMENT FOR MATHAYOMSUKSA 4 STUDENTS
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นายเกริกเกียรติ แสงวิทยาประทีป ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Kerkkiet Sangwittayaprateep ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนเรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อสังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 6 ห้อง จำนวนนักเรียน 450 คน สุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 409 จำนวน  45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAI จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 25 ข้อมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.27 – 0.83 มีค่าความยากตั้งแต่ 0.47 – 0.83 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.79 และแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที (t – test) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ หลังการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ หลังการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) ผลการสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAI มีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มคิดเป็นร้อยละ 83.42 อยู่ในระดับสูง
 คำสำคัญภาษาไทย เรขาคณิตวิเคราะห์ /ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน / การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAI
 Abstract
The purpose of this study were 1) to compare pre-test and post-test of academic achievement who studied Mathematics with the TAI technique on the subject of analytic geometry 2) to compare academic outcomes of Mathayomsuksa 4 students who studied Mathematics after learning with the TAI technique on the subject of analytic geometry to the 70% standard and 3) to observe the behavior of working together as a group of Mathayomsuksa 4 students. The research population were 450 Mathayomsuksa 4 students in the first semester of 2020 academic year at Suankularb Wittayalai School, Bangkok. The sample consisted of 45 Mathayomsuksa 4 students they were randomly selected by simple sampling. The research instrument employed in this study was a set Mathematics lesson plans on the subject of analytic geometry for Mathayomsuksa 4. The lesson plans comprised seven plans. The test for academic results consisted of 25 four-choice questions with discrimination values for individual questions ranging from 0.27 - 0.83 and Difficulty index values ranging from 0.47 - 0.83 and reliability of 0.79. The data were analyzed employing paired t-test. The results of the study are described as follows 1) the students post-test achievement higher than pre-test achievement with the .05 statistically significant 2) the post-lesson academic outcomes on the subject of analytic geometry of Mathayomsuksa 4 students who learned with the TAI technique was higher than 70% of standard at the .05 statistically significant 3) the group working behavior of students in cooperative learning with the TAI technique group was very high leveled at 83.42 percent of the full score
 Keyword analytic geometry / academic achievement / cooperative learning with the TAI technique
 กลุ่มของบทความ คณิตศาสตร์และสถิติ
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564