รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย แนวทางการลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งจากการบริโภค ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Food Waste Reduction for King Mongkut's University of Technology Thonburi.
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวศิริมาพร เจริญในวงศ์เผ่า ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Sirimaporn Charoennaiwongpao ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสาเหตุของการเกิดอาหารเหลือทิ้งและพฤติกรรมการบริโภค 2) วิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภค 3) ศึกษาคะแนนเฉลี่ยในการช่วยลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งจากมุมมองของนักศึกษาและบุคลากร 4) ศึกษาทัศนคติของผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีต่อแนวทางการลดปริมาณอาหารเหลือทิ้ง 5) สรุปแนวทางที่เหมาะสมกับผู้บริโภคและผู้ประกอบการร้านอาหาร  ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัย เชิงปริมาณและใช้กระบวนการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้ แบบสอบถาม กับกลุ่มผู้บริโภคโดยแยกตามสถานภาพคือ นักศึกษาและบุคลากร ซึ่งมีความแตกต่างกันทาง อายุ การเงิน ซึ่งอาจส่งผลต่อพฤติกรรมการทานและทัศนคติที่แตกต่างกัน และงานวิจัยเชิงคุณภาพกับกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยใช้การสัมภาษณ์ และแนวทางที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ S01) ตักข้าวเองฟรี S02) กำหนดปริมาณ (S M L) S03)ใช้ภาชนะที่เหมาะสม S04) ลดราคา S05) แจกฟรี S06) ประเมินรสชาติและคุณภาพ S07) ถ่ายรูปเพื่อลุ้นรับรางวัล S08) ป้ายแจ้งผู้บริโภคก่อนสั่งอาหาร ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุหลักของอาหารเหลือทิ้ง คือ ร้านให้ปริมาณเยอะเกินไป ซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง S02 มากที่สุด เพราะผู้บริโภคสามารถเลือกปริมาณอาหารที่เหมาะกับความต้องการ แต่คะแนนการช่วยลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งของ นักศึกษาและบุคลากร มีความแตกต่างกัน อาจเป็นเพราะราคาจะแตกต่างกันตามปริมาณซึ่งทำให้ปัจจัยเรื่องราคาอาจจะมีผลต่อการเข้าถึงอาหารได้ และการนำแนวทางนี้มาปรับใช้นั้นอาจไม่ต้องคำนึงถึงสถานภาพคือนักศึกษาและบุคลากรและประเภทร้านอาหาร เพราะได้ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพและประเภทร้านกับ พฤติกรรมการทานเหลือแล้วพบว่าไม่สัมพันธ์กัน สำหรับการศึกษาครั้งต่อไปควรวิเคราะห์ปริมาณ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการนำแนวทางไปใช้รวมถึงต้นทุนในการดำเนินการ
 คำสำคัญภาษาไทย ขยะอาหาร,อาหารเหลือทิ้ง,สาเหตุอาหารเหลือทิ้ง,พฤติกรรมการบริโภค
 Abstract
The aims of this research were to study: 1) To study the causes of food waste and consumer behavior. 2) To analyze consumer behavior. 3) To study the average score for food waste reduction of students and personnel. 4) To study attitude of restaurants about guidelines. 5) To summarize the guideline that suitable with consumer and restaurant within university. This research uses quantitative method, through survey research by questionnaire on customer groups which are students and personnel. There are differences in financial age, which may affect different eating behaviors and attitudes. And qualitative research with restaurant using interviews. The guideline use in this study were S01) Free scoop of rice. S02) Set the amount of food (SML). S03) Use of suitable utensils. S04) discount price. S05) Free food. S07) Take pictures to win prizes. S08) Consumer labels before ordering food. The results shown the reason of food waste is the amount of food received is too much. Accord with the S02 guidelines because consumers can choose the amount of food that best suits their needs. But the score for helping to reduce the amount of food leftovers students and personnel are different. This could be because prices vary with quantity, which may affect food accessibility. Implementing this approach of this guide does not consider the status and type of restaurant because they were irrelevant with leftovers behavior. Suggestion for next study should study the amount of food waste, operation cost, efficiency and effectiveness of the implementation.
 Keyword Food waste, Plate waste from customers, Cause of leftovers, Consumer behavior.
 กลุ่มของบทความ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564