รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์
ชื่อบทความภาษาไทย |
แฟชั่นตุ้มหู ความงามเหนือกาลเวลาในงานประติมากรรมปูนปั้นสมัยทวารวดี |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Earrings Fashion, Transcendent Beauty in Stucco Sculptures in Dvaravati Era. |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
ผศ.ดร.สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
SUPITCHAR JINDAWATTANAPHUM , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
ความสวย ความงาม เป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา เป็นเสน่ห์ที่อยู่เหนือกาลเวลามาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล เครื่องประดับเป็นงานศิลปะที่ใช้ประดับตกแต่งร่างกายเพื่อความสวยงาม ดังปรากฎหลักฐานทางโบราณคดีในหลุมฝังศพแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ยุคหินใหม่ มาตั้งแต่ครั้งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แม้ว่าผู้คนในสมัยนั้นจะมีหน้าตา อย่างไรก็ตาม หากทว่า ขึ้นอยู่กับเครื่องประดับที่นำมาตกแต่งเสริมความงามให้ปรากฏบนใบหน้า เครื่องประดับจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา มีการสร้างสรรค์งานให้ถูกใจแก่เจ้าของ เพื่อตอบสนองและสะท้อนค่านิยมของแฟชั่นในสมัยนั้นว่างามอย่างไร ส่วนวัสดุที่นำมาใช้ในการทำก็สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น และสถานะที่สามารถหามาได้ ศิลปะทวารวดี เกิดขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16 หรือราวประมาณพันกว่าปีที่ผ่านมานั้น เป็นยุคสมัยที่มีการปรากฏใช้เครื่องประดับตกแต่งร่างกาย เพื่อความสวยงาม และบ่งบอกถึง ชนชั้นทางสังคม หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาการใช้เครื่องประดับ คือ งานประติมากรรมปูนปั้นรูปบุคคล และศิลปะโบราณวัตถุ ที่พบอยู่ทั่วไปในสมัยทวารวดี ได้แก่ เมืองโบราณนครปฐม เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และเมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี เครื่องประดับนั้นจะประกอบไปด้วย ศิราภรณ์ คือ เครื่องสวมศีรษะ และถนิมพิมพาภรณ์ คือ เครื่องประดับ จากการศึกษาพบว่า ตุ้มหู เป็นเครื่องประดับที่นิยมใช้ในทุกชนชั้นของสังคมทวารวดี เนื่องจากศิราภรณ์ หรือ เครื่องสวมศีรษะ จะนิยมใช้กันในชนชั้นสูงเท่านั้น และจากการศึกษาพบว่าตุ้มหูที่พบในสมัยทวารวดีนั้นทำขึ้นจากวัสดุและโลหะ ที่มีความหลากหลายรูปแบบ เป็นแฟชั่นที่คนทุกระดับในสังคมทวารวดีสวมใส่กัน มีสไตล์การออกแบบโดยช่างฝีมือเมื่อพันกว่าปี ที่สะท้อนให้เห็นค่านิยมในความงามของคน ในสมัยนั้น แม้จะผ่านระยะเวลามานานนับพันปี แต่ความงามก็ยังคงอยู่เหนือกาลเวลาให้คนในสมัยปัจจุบันได้ชื่นชมเสน่ห์แห่ง ความงามนั้น |
|
คำสำคัญภาษาไทย |
แฟชั่น, ตุ้มหู, ประติมากรรมปูนปั้น, สมัยทวารวดี |
Abstract |
Beauty or charm is what all mankind desires. It sounds like transcendent objects since the ancient times. Accessories are a sort of artworks embroidering our body for their bodies as shown in the archeologic evidences in the graves in Ban Chiang archeologic sites, Udon Thani province, in Neolithic age, since Pre-historic period. Even the citizens in that era had any facial characteristics, but it relied on the embroideries decorating their beauty shown on their faces. Thus, the accessories are something that everyone desires. Creating these artworks were applied to response the owners and reflect how their social values of fashions in those areas were. Meanwhile, materials used in the accessories could identify the available hierarchy and social status. Dvaravati arts originated in 12th -16th (B.E.) centuries or around more than a thousand years. In that era, there were appearances of embroideries decorating their bodies to show beauty and represent the social classes. Evidences in the study included human stucco sculptures and archeological antique arts generally found in Dvaravati era, including Nakhon Pathom ancient town, U-thong ancient town in Suphan Buri province, and Khu Bua ancient town in Ratchaburi province. Embroideries include Siraporn (headwears) and Thanim Pimpaporn (embroidery accessories). Based on the study, it was found that earrings were fascinated in each social classes in Dvaravati era because Siraporn or head wears were popular accessories in aristocratic classes only. Moreover, based on the study, earrings in Dvaravati era were made from materials and metals in various styles and they were fashions worn in every class in Dvaravati societies. Moreover, they were styles designed by more than thousand-year ancient craftsmen. This shows the beauty values in that era. Even though time flies more than thousand years, transcendent beauty still exists for all current citizens to appreciate it. |
Keyword |
beauty, earrings, stucco sculptures, Dvaravati era |
กลุ่มของบทความ |
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิชาการ |
Publication date |
8 - 9 กรกฎาคม 2564 |
|
|