รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ผลกระทบของโรคระบาดโควิด19 ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Impacts of the COVID 19 epidemic That affect the quality of life of flight attendants
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวพัชรียา วิภาสเศรณี , นางสาวลัคณา สันติณรงค์,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Patchareeya Vipaseranee , Lackana Santinarong,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และ 3) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จานวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ และค่าแอลเอสดี โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุ 21-30 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท และมีประสบการณ์ทำงาน ต่ำกว่า 1 ปี  2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ด้านผลตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ ด้านสภาพที่ทำงานปลอดภัยไม่อันตรายต่อสุขภาพ ด้านสังคมสัมพันธ์ ด้านความก้าวหน้า และด้านภาวะอิสระในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ        3) พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ด้านผลตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ ด้านสภาพที่ทำงานปลอดภัยไม่อันตรายต่อสุขภาพ ด้านสังคมสัมพันธ์ ด้านความก้าวหน้า และด้านภาวะอิสระในการทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
 คำสำคัญภาษาไทย ผลกระทบ โรคระบาดโควิด19 คุณภาพชีวิต พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
 Abstract
The purposes of this institutional research report were to study 1) Personal factors of flight attendants 2) Factors affecting the quality of life of flight attendants, and 3) To compare factors affecting the quality of life of flight attendants. Classified by personal factors of flight attendants 375 people. The tools used in this research were the statistical data analysis questionnaire, frequency, Mean, standard deviation (SD) , T-Test, F-Test and LSD. By setting the level of statistical significance at .05
The results of the research found that 1) Most of the personal factors of flight attendants were female, aged 21-30 years, having a bachelor's degree. Have an average monthly income of 10,001 - 20,000 baht and have less than 1 year of work experience.
2.) Factors affecting the quality of life of flight attendants In terms of compensation that are fair and sufficient, The condition of the workplace is safe, not harmful to health. The Relationships, The Progress, and Freedom at work were overall at high average. 3.) Flight attendants who have different personal factors affect the quality of life. Of flight attendants, fair and adequate compensation for working conditions Safe and harmless to health, social relations, progress and freedom at work. The difference was statistically significant at .05.
 Keyword impact, COVID 19 epidemic, quality of life, Flight attendant
 กลุ่มของบทความ การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการ
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564