รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย พฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ในช่วงเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ของนักศึกษาพยาบาล
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Decision-making behavior of food delivery service via mobile application during COVID - 19 pandemic among nursing students
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวอณิตยา เหมนแก้ว ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Anittaya Menkaew ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อ
       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชันในช่วงเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ของนักศึกษาพยาบาล เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน และแบบสอบถามพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน มีค่าเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 206 ราย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
       ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 18-23 ปี  ส่วนใหญ่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 18.5-22.99 kg/m2  และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ทำการสั่งอาหารส่วนใหญ่ในช่วงเวลา 12.00-16.00 น. และแอปพลิเคชันที่ใช้บ่อยที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่  Food Panda รองลงมาคือ 7-Delivery และ Grab food ตามลำดับ พฤติกรรมในการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชันเมื่อพิจารณาปัจจัยทั้ง 4 ด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านกระบวนการมากที่สุดที่ระดับมาก (¯x = 4.14, S.D. = 0.70) รองลงมาเป็นปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ระดับมาก   (¯x = 4.05, S.D. = 0.84) ปัจจัยด้านกายภาพที่ระดับมาก (¯x= 4.03, S.D. = 0.68) และสุดท้ายปัจจัยด้านการสั่งซื้อที่ระดับปานกลาง (¯x = 3.35, S.D. = 1.07)
 
 
 คำสำคัญภาษาไทย พฤติกรรมการตัดสินใจ บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
 Abstract
Abstract
         This research aimed to study the behavior of decision-making to use the food delivery service via mobile application during COVID - 19 pandemic among nursing students as a survey research. Instruments consisted of the demographic questionnaire, decision questionnaire to use food delivery service via mobile application and a questionnaire on the behavior of decision-making to use food delivery service via mobile application with the reliability of 0.86. The sample consisted of 206 1st - 4th year nursing students, Surat Thani Rajabhat University. Statistics used for data analysis included frequency, percentage, average and standard deviation.
           The results showed that most of the samples were female, aged between 18-23, and the majority had a BMI between 18.5-22.99. kg/m2 and have an average monthly income of less than 5,000 baht. Most of them order food between 12.00-16.00 and the top 3 most frequently used applications are Food Panda, followed by 7-Delivery and Grab food respectively. The behavior of decision-making to use the food delivery service via mobile application when considering all four factors, it was found that the sample group put the most importance on the process factor at the high level (¯x = 4.14, S.D. = 0.70), followed by environmental factor at high level (¯x = 4.05, S.D. = 0.84), physical factor at high level (¯x = 4.03, S.D. = 0.68), and finally, order factor at medium level (¯x = 3.35, S.D. = 1.07)
 Keyword Decision-making behavior, Food delivery service via mobile application, COVID-19
 กลุ่มของบทความ การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค New Normal
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564