รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนาศักยภาพ ด้านความแข็งแรงทางร่างกาย สำหรับทหารกองประจำการ
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Development potential strength For airman
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นายนิทัสน์ เจริญกิจ เจริญกิจ ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) nitas charernkit ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
ในการวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพด้านความแข็งแรงทางร่างกายสำหรับทหารกองประจำการ ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพทางการรบของทหาร โดยมุ่งหมายให้มีการพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมสมรรถภาพร่างกายสำหรับทหารกองประจำการ กองทัพอากาศ ด้วยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโปรแกรมการออกกำลังกายเดิม (แบบที่ 1) กับโปรแกรมการออกกำลังกายใหม่ (แบบที่ 2) โดยใช้การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ย (z-test) ผู้วิจัยใช้การทดสอบความสมบูรณ์แข็งแรงทางร่างกายสำหรับการตรวจสอบหน่วยฝึกทหารใหม่ ฉก.ทม.รอ.904 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีประชากรที่ใช้ในการทดสอบมีทั้งหมด 384 คน โดยใช้โปรแกรม Excel ในการคำนวณข้อมูล ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการออกกำลังกาย และท่าออกกำลังกายที่เหมาะสม ปรากฏว่าโปรแกรมการออกกำลังแบบใหม่ (แบบที่ 2) มีประสิทธิภาพมากที่สุด ส่งผลให้มีผู้ผ่านการทดสอบคิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เข้าทดสอบทั้งหมด จากการวิจัยการพัฒนาศักยภาพ ด้านความแข็งแรงทางร่างกาย สำหรับทหารกองประจำการ ทำให้ได้โปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับการฝึกทหารกองประจำการเพื่อให้ผ่านการทดสอบความสมบูรณ์แข็งแรงทางร่างกายตามเกณฑ์ของฉก.ทม.รอ.904 ทำให้ทราบแนวทางในการปฏิรูปการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของกองกำลังทหารอากาศ ตลอดจนทราบแนวทางการกำหนดกำลังรบอย่างเหมาะสม และทำให้ได้แนวทางการพัฒนาศักยภาพทางด้านร่างกายของบุคคลากรในหน่วยงาน เพื่อใช้กำลังในการรบและใช้กำลังในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ
 คำสำคัญภาษาไทย ศักยภาพด้านความแข็งแรงทางร่างกาย, กองทัพอากาศ, การทดสอบความแตกต่างทางค่าเฉลี่ย
 Abstract
This research topic “Development on Physical Strength for Airman” focus on studying on an approach to increase physical strength in warfare for soldiers with an aim to develop training program to enhance physical strength for military personnel in the Royal Thai Air Force. The study applies comparison method to analyze the differences between the current training program (Program No. 1) and the new training program (Program No. 2) where the Mean Different Test (z-test) is implemented. The researchers use the physical fitness test to validate the new military training unit 904 as a research tool with 384 people participated in the test using Excel program in data calculation. The results of data analysis show that, by comparing the difference in the exercise average with appropriate exercise postures, the new exercise training program (Program No. 2) delivers the most effective result with 80 percent of the number of personnel passing the physical fitness test. The result of this research stipulates an effective training program for military training for the regular service personnel to increase their physical potential strength in order to pass the physical fitness test criteria in accordance with the test program of the 904 Unit and to understand a new approach in reforming the training program to increase potential strength of the Air Force personnel as well as to enhance approach in determining combat force and provide guidance for physical capacity development program for the Unit’s personnel for utilizing the utmost force to protect the interests of the nation.
 Keyword Physical strength, Royal Thai Air Force, difference test of mean.
 กลุ่มของบทความ วิทยาศาสตร์กายภาพ
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564