รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์
ชื่อบทความภาษาไทย |
การวิเคราะห์คลังภาษาเพื่อการศึกษาวาทกรรมทางการเมือง |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
A Corpus-Driven Analysis for Political Discourse Analysis |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
ผศ.ลลนา ปฐมชัยวัฒน์ , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Lalana Pathomchaiwat , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
จากการเปลี่ยนแปลงไปของศตวรรษ วิธีการวิจัยด้านคลังข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้รับการยอมรับว่าเป็นการศึกษาในรูปแบบใหม่ของงานวิจัยสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (HSS) (Baker et al, 2008, 221)(Caldas-Coulthard and Moon 2010. 99) (Mayaffre & Poudat, 2013, 65). การศึกษาวาทกรรมคลังภาษาหรือ CADS นี้ได้รับการพัฒนาในทั่วทุกมุมโลกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายทศวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวาทกรรมทางการเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา
การวิจัยในครั้งนี้ มีจุดประสงค์ดังนี้ คือ เพื่อศึกษาวาทกรรมของประธานาธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นระบบ โดยวาทกรรมสำคัญที่กล่าวขึ้นโดยประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาผู้มีชื่อเสียงแห่งทศวรรษที่ 21 ในวันรับตำแหน่งประธานาธิบดี 3 ท่านเป็นข้อมูลทางวาทกรรมหลักงานของวิจัยนี้ ประธานาธิบดีทั้งสามท่านได้แก่ ประธานาธิบดีโอรัก โอบามา ประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีโจ ไบเดน โดยมีคำถามวิจัย 2 ประการคือ 1) ลักษณะทางภาษาใดที่ปรากฏในวาทกรรมทางการเมือง 2) อำนาจทางวาทกรรมเรื่องใดถูกสะท้อนให้เห็นได้จากบริบททางการเมือง โดยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณของคลังข้อมูลภาษาจากคอมพิวเตอร์ ทำให้ลักษณะทางภาษาที่สำคัญหลายประการรวมทั้งวจนกรรมได้ถูกอธิบายอย่างเป็นรูปธรรม
ในบรรดาการวิเคราะห์และการรวบรวมวรรณกรรม การอภิปรายผลการวิจัย ในครั้งนี้ ได้จากการพิจารณาผลลัพท์ที่ได้ทางสถิติ และในแง่มุมของการพรรณนาจากอากัปกิริยาและพลังของคำพูดในขณะที่พูด ผลการวิจัยนี้ยังมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาทั้งทางด้านภาษาศาสตร์เกี่ยวกับวาทกรรมทางการเมือง (PDA) และงานวิจัยที่เกี่ยวกับวิเคราะห์คลังภาษาต่อไป
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
คำสำคัญ: การวิเคราะห์คลังภาษา, ความถี่, สุนทรพจน์ทางการเมือง, การวิเคราะห์วาทกรรมทางการเมือง |
Abstract |
According to a turn of the century, corpora are established as a modern platform of Humanities and Social Sciences (HSS) empirical researches (Baker et al, 2008, 221)(Caldas-Coulthard and Moon 2010. 99) (Mayaffre & Poudat, 2013, 65). A corpus-analysis discourse studies or CADS research have increasingly developed in several parts of the world for decades particularly in the US political scenarios.
The research major purpose is to explore the potential US presidential speeches systematically. Three essential residents’ victory speeches conducted by three famous presidents in the 21st century were included for the political discourse analysis (PDA); the presidents of the United States, “Barack Obama”, “Donald Trump”, and “Joe Biden”. The investigation was carried out serving two crucial research questions; 1) what lexical features are emerged from PDA and 2) What kinds of powers are reflected from the US political discourses. By means of the quantitative data analyzing, potential linguistic aspects and speech acts were explained concretely.
Among those corpus analysis and findings, the research discussions are instituted basing on the statistical results and descriptive aspects; speech acts and powers. The implications of this research play an important role on both the PDA in linguistic experiments and the corpus-driven analysis works extensively.
|
Keyword |
Keywords: Corpus Analysis, Frequency, Political Speech, Political Discourse Analysis, PDA |
กลุ่มของบทความ |
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
8 - 9 กรกฎาคม 2564 |
|
|