รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การประยุกต์ใช้ Google Apps for Education เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ร่วมกันแบบออนไลน์ สำหรับนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Applying Google Apps for Education to Enhance an Achievement of Online Collaborative Learning for students from Computer Science Department, Kanchanaburi Rajabhat University.
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.ดร.นิลุบล ทองชัย ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Nilubon Tongchai ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ Google Apps for Education ในการจัดทำห้องเรียนและสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ จัดเก็บและป้อนกลับผลการเรียนรู้ ช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ให้ผู้เรียน พัฒนาห้องเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Classroom และใช้เครื่องมือ อาทิ Docs, Drives, Sheets, Forms เพื่อจัดทำใบงานและพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับการเรียนการสอนหัวข้อต่างๆ ก่อนนำระบบไปใช้จริงกับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 23 คน ที่ลงทะเบียนวิชาสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจากแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจแสดงให้เห็นว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่เข้าใช้ห้องเรียนและสื่อที่ได้จัดเตรียมให้ในระดับความถี่ที่ค่อนข้างสูง โดยมีความรู้สึกเชิงบวกต่อการเรียนการสอนรูปแบบนี้ โดยเลือกความรู้สึก ‘ประทับใจ’ และ ‘ผ่อนคลาย’ เป็นอันดับหนึ่ง โดยปราศจากความ ‘ตื่นกลัว’ ผู้เรียน ‘พึงพอใจมาก’ ในทุกด้านของการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย 1) ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ 2) ประสิทธิภาพและการทำงานของระบบ 3) การทำงานร่วมกัน 4) การส่งข้อมูลป้อนกลับ และ 5) ภาพรวมการใช้งานโมดูล และเมื่อดูผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ซึ่งพิจารณาจากการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการสอบหลังเรียน (32.57) กับก่อนเรียน (23.64) พบว่าผู้เรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้น และเมื่อสังเกตจากการเรียนในห้องและชิ้นงานที่มอบหมาย พบว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น มีการนำข้อมูลที่ได้จากการป้อนกลับและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปรับใช้ มีความกระตือรือร้นในการทำงาน และมีความรับผิดชอบมากขึ้น จากข้อมูลดังกล่าวสรุปได้ว่าการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ร่วมกันแบบออนไลน์
 คำสำคัญภาษาไทย ซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษาของกูเกิ้ล,กูเกิ้ลคลาสรูม,การเรียนรู้ร่วมกันแบบออนไลน์,เรียนรู้ร่วมกัน,เรียนออนไลน์
 Abstract
This research aimed to apply Google Apps for Education to manipulate online classroom and learning materials. Store and feedback results in order to improve learning achievement for learners. Developed online classrooms using Google Classroom together with tools such as Docs, Drives, Sheets, Forms to create assignment and workshops for learning the topics, and then applying to 23 computer science students, who registered in the architecture and computer components course.
The results from the questionnaire showed that most students use the classroom and media quite often. They have positive feeling for this way of teaching by choosing 'impress' and 'relax' as the number one feeling in their mind without feeling 'panic'. Learners were 'very satisfied' in all aspects of the assessment which were 1) user interface, 2) system performance and functionality, 3) interoperability, 4) data feedback, and 5) module deployment overview. When focusing on the learning achievement, based on the comparison of the average score of the post-test (32.57%) and the pre-test (23.64%), the average score was increased. As observed results during classroom and assigned work, the results showed that learners have improved in a better way: could deployed the obtained information from both feedbacks and knowledge exchanges to improve learning, had passions more responsible for work, and basically could tell what they did or did not know from the test. As a result, it could be concluded that this type of learning materials enhanced the learning achievement of online collaborative learning.
 Keyword Google Apps for Education,Google Classroom,Online Collaborative Learning,Collaborative Learning,Online Learning
 กลุ่มของบทความ คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564