รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) THE EFFECTS OF ACTIVE LEARNING APPROACH ON PERCENTAGE LESSON OF PRATHOMSUKSA 5 STUDENTS
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวพรนรินทร์ โสภาพ ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Pronnarin Sopap ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ศึกษาพัฒนาการของการเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ
ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านโนนสูง ตำบลแขม อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้
ในงานวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเรื่อง ร้อยละ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และค่าดัชนีประสิทธิผล
            ผลการวิจัยพบว่า
                  1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้
เชิงรุก มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 11.36 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 37.87 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 17.43 คะแนน คิดเป็น
ร้อยละ 58.10 ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 50 และเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 20.24 ของคะแนนเต็ม
                  2) พัฒนาการของการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนเรื่อง ร้อยละ โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก นักเรียนทุกคนมีพัฒนาการสูงขึ้นร้อยละ 10 - 80 เฉลี่ยสูงขึ้นร้อยละ33 โดยมี 6 คน มีพัฒนาการร้อยละ 50 - 80 นักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ 4 คน มีพัฒนาการร้อยละ10 - 16 นอกนั้น 4 คนมีพัฒนาการร้อยละ 18 - 33 
                  3) นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนเรื่องร้อยละโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในระดับมาก( = 3.93,
= 0.68) และพบว่านักเรียนพอใจในระดับมากทุกด้านได้แก่ด้านการจัดการจัดการเรียนรู้ ( = 3.84, = 1.01)
ด้านครูผู้สอน ( = 4.13, = 0.96) ด้านสื่อการเรียนรู้ ( = 3.98, = 1.05) และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
( = 3.68, = 1.04) 
 คำสำคัญภาษาไทย การจัดการเรียนรู้เชิงรุก การจัดการเรียนรู้เรื่องร้อยละ,ดัชนีประสิทธิผล
 Abstract
The purposes of this study were to study the results of the active learning approach on percentage lesson of Prathomsuksa 5 students intended to; 1) study about the achievement oflearning ;
2) study students’ learning progression and 3) investigate the satisfaction levels  . The target population was 14 Prathomsuksa 5 students from Ban Nonsoong School, Khaem sub-district, Uthumphornphisai district, Sisaket province during the second semester of the 2020 academic year. The instruments used in this research were 1) active leaning lesson plan 2) achievement tests 3) satisfaction survey form on percentage lesson for Prathomsuksa 5 students. The Statistics used in this study were descriptive statistics; mean, percentages, standard deviation and effectiveness index.
            The results of the study were as follows: 1) Prathomsuksa 5 students had the pretest mean score at 11.36 or 37.87 percent and the posttest mean score at 17.43 or 58.10 percent. The posttest mean score was higher than 50 percent and increase 20.24 percent from total score. 2) Mathematics’ Learning progression of Prathomsuksa 5 students after using active learning approach on percentage lesson was higher 10-80 percent and mean score was higher at 33 percent. There were 6 students had learning progression score at 50 - 80 percent, 4 learning disability students had learning progression score at 10 - 16 percent and 4 students   had learning progression score at 18 - 33 percent. 3) The students’ satisfaction after learning with active learning approach on percentage lesson was at high level ( = 3.93, = 0.68) and the satisfactions of each aspect, such as teaching ( = 3.84, = 1.01), teacher ( = 4.13, = 0.96), instructional media( = 3.98, = 1.05) and measurement and assessment( = 3.68, = 1.04) were at high level.
 Keyword active learning, teaching percentag,effectiveness Index
 กลุ่มของบทความ คณิตศาสตร์และสถิติ
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564