รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ไม่มีการแก้ไข
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) ไม่มีการแก้ไข
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.เกรียงไกร มีถาวร ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Kriengkrai Meethaworn ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การแตกของมะพร้าวเจียสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมมะพร้าวอ่อน ทั้งนี้ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าสาเหตุการแตกนั้นเกิดจากอะไร ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาลักษณะการแตกของมะพร้าวเจียเพื่อหาสาเหตุและแนวทางป้องกันการแตก โดยทำการสำรวจลักษณะการแตกของผลมะพ้ราวเจียจากโรงงานผู้ผลิตและตรวจหาสาเหตุการแตกของผลมะพร้าวเจียด้วยการวัดความหนาของกะลาตามแนวขวางและแนวยาวของผลและตรวจวัดแรงดันภายในผลมะพร้าวเป็นเวลา 5 เดือนติดต่อกัน นอกจากนี้ยังทดลองลดแรงดันภายในผลมะพร้าวด้วยการพักผลมะพร้าวที่เก็บเกี่ยวมาแล้วเป็นเวลา 1 และ 3 วัน ผลการทดลองพบว่า การแตกของมะพร้าวเจียกว่าร้อยละ 77 เกิดขึ้นในส่วนกะลาที่มีความบางมากสุดคือ ด้านปลายผลประมาณ 3/4 ของความยาวผลเมื่อวัดจากด้านขั้วผลฝั่ง carpel ขนาดใหญ่ การแตกเกิดตามแนวขวาง ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีความหนาของกะลาน้อยที่สุดโดยมีความหนาของกะลาตามแนวขวางประมาณ 2.15 มิลลิเมตร และความหนาของกะลาตามแนวยาวประมาณ 1.8 มิลลิเมตร ผลมะพร้าวมีแรงดันภายในผลหลังจากเก็บเกี่ยวมากกว่า 0.5 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว แต่มีเพียง 0.03 ปอนด์ต่อตารางนิ้วเมื่อผลแตก เมื่อทำการพักมะพร้าวทั้งผลหลังจากเก็บเกี่ยวไว้ 1 วันก่อนปอกและเจีย พบว่าสามารถช่วยลดแรงดันภายในผลเหลือประมาณ 0.1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และไม่พบการแตกของผลมะพร้าวเลย
 คำสำคัญภาษาไทย กะลามะพร้าว ผลแตก มะพร้าวอ่อน แรงดันภายในผล
 Abstract
The cracking of young polished coconut is an important problem of the young coconut industry. The cause of fruit cracking could not be clearly explained. Therefore, the aim of the study was to determine the cause and prevention of the young polished coconut cracking. The cracking characteristics of young polished coconut were determined from the young coconut packing house together with the thickness of the shell and the internal pressure for 5 consecutive months. Moreover, the prevention of internal pressure was investigated by holding the harvested coconut for 1 and 3 days, before processing. The results showed that more than 77 percent of fruit cracking occurred on the stylar end approximately 3/4 of the fruit length when measured from the stem end of the coconut, especially in the large carpel due to it has the lowest shell thickness, approximately 2.15 mm, and 1.8 mm of horizontal and longitudinal shell thickness respectively. The internal pressure of young polished was more than 0.5 as compared to 0.03 pounds per square inch in the cracked fruit. Delaying the peeling and polishing process by 1 day after harvested could reduce the internal pressure from 0.5 to 0.1 pounds per square inch without any cracking.
 Keyword coconut shell, fruit cracking, young coconut, internal pressure
 กลุ่มของบทความ ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564