รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การใช้คลื่นอัลตร้าโซนิคในการสกัดเอนไซม์โบรมิเลนจากเศษเหลือทิ้งของสับปะรด
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Ultrasonic – assisted extraction of Bromelain from pineapple waste
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.ดร.ธันยนันท์ ศรีพันธ์ลม ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Thanyanan Sripanlom ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
     งานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการใช้คลื่นอัลตร้าโซนิคในการสกัดเอนไซม์โบรมิเลนจากเศษเหลือทิ้งของสับปะรด โดยเปรียบเทียบผลของวิธีการสกัดแบบดั้งเดิมและแบบการสกัดแบบใช้คลื่นอัลตร้าโซนิค จากนั้นศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดแบบใช้คลื่นอัลตร้าโซนิคโดยใช้เศษสับปะรด 3 ส่วน คือ เปลือก ก้าน และจุกสับปะรดสายพันธุ์ปัตตาเวียจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ผลการทดลองพบว่า การสกัดแบบใช้คลื่นอัลตร้าโซนิคให้ผลดีกว่าการสกัดแบบดั้งเดิม  การสกัดแบบใช้คลื่นอัลตร้าโซนิคในส่วนของจุกสับปะรดมีปริมาณโปรตีนมากที่สุดเท่ากับ 107.47 mg/mL  รองลงมาคือ เปลือกเท่ากับ 106.27 mg/mL  และก้านเท่ากับ 45.53 mg/mL ตามลำดับ และเมื่อศึกษาเวลาที่เหมาะสมในการสกัดแบบใช้คลื่นอัลตร้าโซนิค ที่เวลา 10 และ 20 นาที พบว่า เวลา 10 นาทีมีค่ากิจกรรมการทำงานของเอนไซม์ดีกว่า 20 นาที และค่ากิจกรรมที่ดีที่สุดคือส่วนของจุกสับปะรดมีค่าเท่ากับ 0.1339 Units/mL ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้คลื่นอัลตร้าโซนิคมีความเหมาะสมในการสกัดเอนไซม์โบรมิเลนจากเศษเหลือทิ้งของสับปะรด
 คำสำคัญภาษาไทย สับปะรด,โปรตีน,การโซนิเคท, โบรมิเลน
 Abstract
      In this study, researchers use ultrasonic wave for extraction of Bromelain from pineapple waste.  By comparing the results of traditional extraction methods and ultrasonic extraction methods. To study the optimal condition for ultrasonic extraction methods. By using three parts of pineapple waste such as peels, stalks and corks in the Pattavia pineapple oriinaled from Prachuap Khiri Khan Province.  The results of the  experiment show that the ultrasonic extraction is better than the traditional extraction.  Moreover, ultrasonic extraction of the pineapple cork has the highest protein amount (107.47 mg/mL), followed by peels (106.27 mg/mL),  and stalks (45.53 mg/mL) respectively. And the period of time for the optimal conditions is studied by ultrasonic extraction viz at 10 and 20 minutes. It is found that the enzyme activity at 10 minutes is better than 20 minutes and the best activity id found to be 0.1339 Units/mL. The results of this study show that the use of ultrasoinc waves is appropriate to extraction of Bromelain from pineapple waste.
 Keyword Pineapple,Protein, Sonication,Bromelain
 กลุ่มของบทความ วิทยาศาสตร์กายภาพ
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564