รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ด้วยสื่อการเรียนการสอนเสมือนจริงร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ กรณีศึกษาโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Development of achievement through of Student by Augmented Reality Instruction with Backward Design Case Study of Kanchanaphisekwittayalai, Suphanburi School.
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นายธีระ บุญประจักษ์ ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Teera Boonprajak ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
            การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ 1 ) เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนเสมือนจริงร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ วิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2 ) เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอนเสมือนจริงร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3 ) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเมื่อเรียนด้วยสื่อการเรียนการสอนเสมือนจริงร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี จำนวน 36 คนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สื่อการเรียนการสอนเสมือนจริงเรื่อง เบญจศีล เบญจธรรม แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการเรียนการสอนเสมือนจริง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบ ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (kr20) ผลวิจัยพบว่า 1 ) การพัฒนาและหาคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนเสมือนจริง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (x̄= 4.87, S.D.=0.19 ) มีค่าเฉลี่ยคุณภาพด้านเทคนิคการ ผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก (x̄= 4.79, S.D.=0.24 ) 2 ) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนการสอนเสมือนจริงร่วมกับรูปแบบ การเรียนรู้แบบย้อนกลับ คุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (x̄= 4.70, S.D.=0.24 ) 3 ) ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอนเสมือนจริงร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ มีค่าเท่ากับ 84/85 ซึ่งมีค่า ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียน (x̄= 11.7, S.D.=1.64 ) และหลังเรียน (x̄= 21.20, S.D.=2.10 ) ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5 ) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับดีมาก (x̄= 4.80, S.D.=0.01 )
 คำสำคัญภาษาไทย คำสำคัญ: : สื่อการเรียนการสอนเสมือนจริง วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม การเรียนรู้แบบย้อนกลับ
 Abstract
            The objectives of this study were 1) to develop and find the quality of Augmented RealityInstruction together with Backward design management in social studies, religion and culture. 2) Manage Backward design Social Studies, Religion, and Culture subjects 3) to compare the learning achievement before and after learning the samples with virtual teaching materials together with Backward design management. Social Studies, Religion and Culture subjects were 36 students in Mathayom Suksa 2 at Kanchanaphisek School, Suphanburi College. Simple random sampling was used for the research. The research instraments Augmented RealityInstruction about Benjasin Benjatham learning management plan, Achievement test and a questionnaire on student satisfaction with virtual learning materials. The statistics used in the research mean, standard deviation. Exam Conformity Index Difficulty Discriminatory power Test Confidence (kr20). The results showed that 1) The development and finding the quality of virtual teaching materials of Secondary school level 2, the content quality was very good (x̄ = 4.87, S.D. = 0.19), with the technical quality average. The media production was at a very good level (x̄ = 4.79, S.D. = 0.24). 2) The quality of Backward design The quality was very good (x̄ = 4.70, SD = 0.24) 3) The efficiency of the Augmented Reality Instruction combined with the Backward design was 84/85, which had a higher efficiency of the criterion 80. / 80 4) The learning achievement of the learners before (x̄ = 11.7, SD = 1.64) and after (x̄ = 21.2, SD = 2.1), which was statistically higher than before studying at the .05 level, and 5) The satisfaction of the learners with the developed learning materials at a very good level (x̄ = 4.80, SD = 0.01).
 Keyword Keywords: Virtual teaching materials Social Studies, Religion,Backward design
 กลุ่มของบทความ คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564