รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์
ชื่อบทความภาษาไทย |
ลักษณะการเจริญของแบคทีเรียแลคติกและการเปลี่ยนแปลงทางเคมีระหว่างการหมักปลาส้ม จากปลาน้ำจืดที่เพาะเลี้ยงในจังหวัดกาญจนบุรี |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Chemical properties and Lactic acid bacteria growth characteristics among Plaa-som fermentation period of freshwater fish in Kanchanaburi Province |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
อ.ดร.การัณย์ พรหมเทพ , อ.ณัฐณิชา ทวีแสง, อ.สุวิมล กะตากูล เรเกอร์ส, อ.ปิ่นธิดา ณ ไธสง, อ.ดร.จินดารัตน์ โตกมลธรรม, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Karan Phromthep , Natnicha Thaweeseang, Suwimon Katakul Rekers, Phinthida Na Thaisong, Jindarat Tokamolthom, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การหมักเป็นวิธีการถนอมอาหารประเภทหนึ่ง ปลาส้มถือเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหมักแบบดั้งเดิม มีส่วนประกอบที่สำคัญในการผลิตปลาส้ม ได้แก่ ปลาน้ำจืด เกลือ ข้าวสวยหรือข้าวนึ่ง และกระเทียม จากนั้นนำไปหมักในภาชนะปิดสนิทเป็นเวลานาน 5-7 วัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตปลาส้ม โดยใช้กล้าเชื้อผสมของแบคทีเรียที่สร้างกรดแลคติก ระหว่าง Lactobacillus plantarum TISTR 543 และ Lactobacillus fermentum TISTR 055 ในอัตราส่วน 1:1 ที่ระดับ 2 เปอร์เซ็นต์ และจากการศึกษาการผลิตปลาส้มจากปลาน้ำจืดต่างชนิดกัน 4 ชนิด ได้แก่ ปลานิล ปลายี่สก ปลากระมัง และปลาตะเพียน ที่เพาะเลี้ยงในจังหวัดกาญจนบุรี และจากผลการวิเคราะห์คลักษณะทางเคมีและระดับของแบคทีเรียแลคติกของตัวอย่างปลาส้ม 4 ชนิด มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายคลึงกันในระหว่างหมักเป็นเวลา 6 วัน โดยค่าความเป็นกรด-ด่างมีแนวโน้มที่ลดลง ในขณะที่ปริมาณกรดแลคติก และปริมาณแบคทีเรียแลคติกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และภายหลังการหมัก 6 วัน ตัวอย่างปลาส้ม มีค่าความเป็นกรด-ด่างต่ำกว่า 4.50 มีปริมาณกรดแลคติก มากกว่า 1.65 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณแบคทีเรียแลคติกอยู่ในช่วงประมาณ 8.0 log cfu/g นอกจากนี้ปลาส้มที่หมักจากปลาน้ำจืดทั้ง 4 ชนิด มีคุณภาพทางด้านเชื้อจุลินทรีย์เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช. 26/2557)
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ปลาหมัก ,ปลาส้ม,แบคทีเรียแลคติก |
Abstract |
Fermentation is one of methods of food preservation. Plaa-som is a traditional fermented food product. There are some major ingredients, including freshwater fish, salt, cooked rice and garlic, then are mixed and left to fomentation for 5-7 days in sealed container. This research aimed to study Plaa-som production by mixing of two lactic acid bacteria (LAB) strains Lactobacillus plantarum TISTR 543 and Lactobacillus fermentum TISTR 055 with ratio 1:1 and 2 percent additional. The results of the productions of Plaa-som were made from four various kinds of freshwater fish cultured in Kanchanaburi Province including Nile Tilapia, Jullien's golden-price carp, Smith's barb and Silver barb to the changes of pH value and LAB level were observed. The results showed that the analyzed parameters from four Plaa-som samples such as chemical properties and Lactic acid bacteria level had the similar trend during 6 days of fermentation period. There was decreased a pH value, while the percent titratable acidity (lactic acid) and Lactic acid bacteria (LAB) increased. After 6 days of fermentation, the products showed pH value lower than 4.50, the percent titratable acidity (lactic acid) higher than 1.65 percent and LAB number about 8.0 log cfu/g. Additionally, Plaa-som products were produced by four different kinds of freshwater fish had the microbial quality according to the Thai Community Product Standard (CPS 26/2014).
|
Keyword |
Fermented fish,Plaa-som,Lactic acid bacteria |
กลุ่มของบทความ |
ชีววิทยา เกษตร และอาหาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
8 - 9 กรกฎาคม 2564 |
|
|