รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์
ชื่อบทความภาษาไทย |
ผลิตภาพในวัยสูงอายุของพยาบาลหลังเกษียณ |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Productivity in Later Life of Nurses’ Productive Aging |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
นางสาวสุวิมล แสนเวียงจันทร์ , นางประทีป ปัญญา, นางสาวรุจาภา เจียมธโนปจัย , นางสาวยุภา โพผา , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
suvimon sanveingchan , Prateep Panya, Rujapa Jiamtanopachai, Yupa Phopa, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์การสร้างผลิตภาพของพยาบาลหลังเกษียณ ศึกษาแรงจูงใจ และเงื่อนไขในการทำงานหลังเกษียณของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลหลังเกษียณทั่วประเทศ จำนวน 2, 826 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ (Validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน สถิติที่ใช้คือ ความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ร่วมวิจัยส่วนมากเป็นเพศหญิง (96.8%) สถานภาพสมรสคู่ การศึกษาระดับปริญญาตรีการพยาบาล รายได้หลังเกษียณที่ไม่รวมการทำงานเฉลี่ย 28,562 บาทต่อเดือน รายได้อยู่ในช่วง 20,000 - 30,000 บาทต่อเดือนมากที่สุด (41.5 %) แหล่งที่มาของรายได้เกือบทั้งหมด มาจากเงินบำนาญ (92.3%) ในขณะที่มีพยาบาลหลังเกษียณที่ไม่มีรายได้หลังเกษียณเลย (6.1%) ค่าตอบแทนการทำงานหลังเกษียณเฉลี่ย ( =25,807, S.D. = 23,951) และพยาบาลหลังเกษียณที่ทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน (9.8%) โดยเป็นอาสาสมัคร จิตอาสา เป็นต้น ด้านสวัสดิการทำงานหลังเกษียณส่วนมากไม่ได้รับสวัสดิการ (66.4%) กลุ่มที่ไม่เคยทำงานหลังเกษียณมีคะแนนความผาสุกในชีวิตหลังเกษียณมากที่สุด ( =8.71 และ 9.01) เนื่องจากต้องการท่องเที่ยว อยากทำงานอดิเรก ในขณะที่มีผู้ร่วมวิจัยกลุ่มหนึ่งต้องการทำงานแต่ไม่สามารถหางานทำได้ มีคะแนนความผาสุกในชีวิตน้อยที่สุด ( =7.41) แรงจูงใจ/เงื่อนไขการทำงานหลังเกษียณ คือ เลือกเวลาทำงานได้ ภาระงานไม่หนัก ลักษณะงานเหมาะกับความสามารถ มีเวลาให้ครอบครัว มีโอกาสเข้าสังคม ในด้านผลการทำงานของพยาบาลหลังเกษียณที่มีต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม พบว่า รู้สึกตนเองมีคุณค่า ครอบครัวเกิดความภาคภูมิใจ และช่วยลดการขาดแคลนบุคลากรทางการพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 74.3 , 56.5 และ 40.7 ตามลำดับ ข้อเสนอแนะ: ระดับนโยบายควรจะพิจารณายืดอายุเกษียณออกไป เนื่องจากพยาบาลหลังเกษียณให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าสมรรถนะของร่างกาย ความคิดจำ ระหว่างอายุ 60 ปี กับ 65 ปี สังเกตว่าตนเองไม่มีความแตกต่างกัน ข้อเสนอแนะสำหรับองค์การจ้างงานผู้สูงอายุหลังเกษียณ เนื่องจากแรงจูงใจในการทำงานหลังเกษียณ เป็นแรงจูงใจในด้านผลตอบแทนที่ไม่ใช่เงิน องค์กรควรจะพิจารณา ลักษณะการจ้างงานที่เฉพาะสำหรับผู้สูงวัยที่ทำงานหลังเกษียณ เช่นมีความยืดหยุ่นในเวลาการทำงาน งานที่ผู้สูงอายุเคยทำงาน หรือมีประสบการณ์มาก่อน และควรจ้างงานที่ใช้กำลังสมองมากกว่าแรงกาย เช่น งานที่ปรึกษา เป็นต้น ข้อเสนอแนะในการเตรียมตัวในการทำงานหลังเกษียณสำหรับผู้สูงอายุ และ ครอบครัว ควรมีการเตรียมตัวด้านสุขภาพ การปรับตัวกับบทบาทที่เปลี่ยนแปลง การปรับตัวด้านเทคโนโลยี เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป ควรศึกษาความคิดเห็นในด้านการทำงาน ทัศนคติ ต่อการทำงานของพยาบาลวัยหลังเกษียณ ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น ผู้รับผลงาน นายจ้าง ผู้บังดับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ที่มีต่อผู้สูงอายุ |
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ผลิตภาพในวัยสูงอายุ, ผลิตภาพในวัยหลังเกษียณ, การเกษียณอายุ, พยาบาลหลังเกษียณ |
Abstract |
The objectives of this study were to analyze the productivity of retired nurses. Study motivation and working conditions after retirement of registered nurses. The sample is 2,826 post-retirement nurses nationwide. The questionnaires were used and created by the authors then validated by five qualified experts. The statistics used frequency and percentage. The results of this research were as follows: Most of the participants were female (96.8%), marital status, bachelor's degree in nursing. Income after retirement excluding work average 28,562 baht per month and there was the most income ranges from 20,000 - 30,000 baht per month (41.5%). Almost all sources of income come from a pension (92.3%) while found that the retirement nurses had no income after retirement at all (6.1%). Average retirement earnings ( =25,807, S.D. = 23,951) and non-paid retirement nurses (9.8%) as volunteers, volunteers, etc. In terms of working benefits after retirement, most of them were not eligible (66.4%). The group of retired nurses who never worked after their retirement had the highest score of well-being retired nurses ( =8.71 and 9.01) because they wanted to travel and made hobbies While one group of participants wanted to work, but they couldn't find work and have the lowest life well-being score ( =7.41). The motivation / condition of working after retirement is to choose the time without heavy workload. Job description is suitable for ability, moreover, they can spend time with family and socialize. In terms of the performance of retirement nurses on themselves, their families and society found that they have had self-esteem. The family was proud of them, and retired nurses help reduce the shortage of nursing staff as a percentage 74.3%, 56.5 and 40.7%, respectively. Recommendation: Policy recommendations should consider extending the retirement age. As the retired nurses added information that physical performance, cognitive thinking, memory between the ages of 60 and 65, observed that they did not differ. Recommendations for the Employment Organization should consider Employment characteristics specific to senior who work after retirement Such as having flexibility in working hours Jobs that seniors used to work or have previous experience and should employ jobs that use more brain power than physical strength Such as consulting work, etc. Recommendations for post-retirement work preparation for the elderly and their families should be prepared for health. Adaptation to changing roles Technology adaptation because today is the age of information Suggestions for the next study should study the opinions on work, work attitudes of retired nurses. In work-related groups such as employers, employers, commanders Colleague Towards the elderly. |
Keyword |
Productive aging, Productivity in later life, retirement, Retired Nurse |
กลุ่มของบทความ |
การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค New Normal |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
8 - 9 กรกฎาคม 2564 |
|
|