รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์
ชื่อบทความภาษาไทย |
การพัฒนาสื่อดิจิทัลเรื่องระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรณีศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดทับกระดาน จังหวัดสุพรรณบุรี |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The Development of Digital Media on the Solar System with the Augmented Reality Technology: a Case Study of Grade 4 Students, Watthapkradan School, Suphanburi Province |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
อ.สุขสวัสดิ์ แซ่ลิ่ม , นางสาวภัทราพร เมืองศรี, นางสาวอารียา ศรีบุญลือพันธุ์, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Suksawat Saelim , Phatthaphon Mueangsri, Arriya Sribunluephan, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อดิจิทัลเรื่องระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรณีศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดทับกระดาน จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อดิจิทัลเรื่องระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรณีศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดทับกระดาน จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อดิจิทัลเรื่องระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรณีศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดทับกระดาน จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดทับกระดาน จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยมีการพัฒนาสื่อดิจิทัลตามหลักการวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาประกอบไปด้วยโปรแกรม Unity ภาษา C# โปรแกรม Blender โปรแกรม Visual Studio โปรแกรม Android Studio โปรแกรม InShot และ Vuforia สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาสื่อดิจิทัลเรื่องระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรณีศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดทับกระดาน จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย เอกสารเนื้อหาเกี่ยวกับระบบสุริยะและมาร์คเกอร์สำหรับใช้สแกนเพื่อแสดงข้อมูลในรูปแบบของวีดีโอ ภาพสองมิติ สามมิติ และเสียง ในรูปแบบเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและเพิ่มความสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น 2) ผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความคิดเห็นต่อสื่อดิจิทัลเรื่องระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรณีศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดทับกระดาน จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.53, S.D.=0.50) และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานสื่อดิจิทัลเรื่องระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรณีศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดทับกระดาน จังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากมากที่สุด ( =4.53, S.D.=0.64)
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ระบบสุริยะ, สื่อดิจิทัล, เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม |
Abstract |
The purposes of the research were 1) to develop the digital media on the solar system with the augmented reality technology: a case study of grade 4 students, Watthapkradan School, Suphanburi province, 2) to evaluate the digital media on the solar system with the augmented reality technology: a case study of grade 4 students, Watthapkradan School, Suphanburi province, and 3) to study student satisfaction on the digital media on the solar system with the augmented reality technology: a case study of grade 4 students, Watthapkradan School, Suphanburi province. The sample used in this research was 30 students in grade 4, Watthapkradan School. This research was developed by System Development Life Cycle (SDLC). The application development tools include Unity, C#, Blender, Visual Studio, Android Studio, InShot, and Vuforia. The statistics used in the research were mean and standard deviation.
The results of the research were as follows: 1) the results of the digital media on the solar system with the augmented reality technology: a case study of grade 4 students, Watthapkradan School, Suphanburi province consists of document on the solar system and marker for displaying information in the form of augmented reality technology that helps learners gain more knowledge and understanding and increase their interest in learning, 2) the quality evaluation from experts who gave opinions on the digital media for planets in the solar system with the augmented reality technology. Case studies of grade 4 students, Watthapkradan School, Suphanburi province at the highest level ( =4.53, S.D.=0.50) and 3) the target group was satisfied with the digital media at a highest level ( =4.53, S.D.=0.64)
|
Keyword |
Solar System, Digital Media, Augmented Reality |
กลุ่มของบทความ |
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
8 - 9 กรกฎาคม 2564 |
|
|