รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ภาวะซึมเศร้าในนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Depression in private university students
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวจิรัชญา โพธ์วัฒน์ , นายสุชาติ พันธ์ลาภ, นางสาวอภิสราพร โกมุทธพงษ์  ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Jirutchaya Photiwat, Suchart Panlap, - - ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงพรรณนานี้เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าในนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่1/2563 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วน 1)ปัจจัยภายในตัวบุคคล 2)ปัจจัยภายนอกตัวบุคคล 3)แบบประเมินภาวะซึมเศร้า ในวัยรุ่น ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และทดลองใช้ในกลุ่มนักศึกษาที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นในส่วนที่1 ตอนที่ 2 และส่วนที่ 3 = 0.724 และ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรงร้อยละ 57.7 มีภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลางร้อยละ 17.2 และไม่มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 25.2 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ สมรรถนะแห่งตน (r= -0.367) ความสัมพันธ์กับครอบครัว (r=0.253) สรุปและข้อเสนอแนะ. 1) ส่งเสริมให้มีการคัดกรองภาวะซึมเศร้าของนักศึกษา โดยเน้นกลุ่มที่มีประวัติความเครียดสูง 2) จัดบริการให้คำปรึกษาเพื่อให้นักศึกษาที่มีปัญหาภาวะซึมเศร้าให้ได้รับการดูแลสุขภาพจิตที่ถูกต้องเหมาะสมโดยเร็ว 3) จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนแก่นักศึกษาที่มีสรรถนะแห่งตนต่ำ
 คำสำคัญภาษาไทย ภาวะซึมเศร้า, นักศึกษา, มหาวิทยาลัยเอกชน
 Abstract The purpose of descriptive research were to study the prevalence of depression among a private university students and to study factors related to depression among university students. The sample were 320 students of the 1st -4th year in four faculties of health science and others faculties in in the 1st semester of academic year 2020 which multistage sampling. The third part questionnaires was used to collecting data including the personal factors, self-efficacy and CES-D questionnaires. It was validated by 3 experts; IOC were between 0.67-1.00. The reliability was test with 25 students, which were at 0.89 and 0.85. The descriptive statistics were used to analyze data including the Pearson’s correlation The results was found that 57.7 %, of the sample were at the severe depression, 17.1% was at mild to moderate depression and 25.2%. did not have depression. Self efficacy and family commitment were related to depression with statistical significant at 0.05 level (r= -0.376 and 0.253 respectively). Other factors did not relate with depression. Conclusion and recommendations: The researcher suggests that 1) The university should be screening depression focused on the students who have high stress 2) Should be provide counseling for those who were at the severe depression, 3) provide the activities or program to develop self-efficacy of the student who were at low self-efficacy
 Keyword Depression , Student, private university
 กลุ่มของบทความ การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค New Normal
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564