รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การศึกษาแนวคิดทางพระพุทธศาสนากับการอนุรักษ์ศิลปกรรมท้องถิ่น
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) A study of Buddhist concepts and the conservation of local art
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาววรนุช เมืองช้าง , นางสาววรรักษณ์ โพธิ์ทอง, นางสาวสาวิตรี สอดศรี, นางสาวสุนิสา สวัสดี,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Worranuch Muengchang , Woralak Phothong, Sawitre Sodsri, Sunisa Sawaddee,
 บทคัดย่อภาษาไทย
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา แนวคิดทางพระพุทธศาสนากับการอนุรักษ์ศิลปกรรมท้องถิ่นรวมถึงแนวทางการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อการอนุรักษ์ศิลปกรรมท้องถิ่น โดยได้นำหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 มาปรับใช้ ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตา โดยเน้นส่งเสริมการเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น เพื่อสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปกรรมท้องถิ่น ให้คงอยู่ในสภาพที่เหมาะสมและเพื่อรักษาวิถีชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นให้มีความเท่าเทียมและเสมอภาคกัน มีความอุดมสมบูรณ์ และอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน
            ผลการศึกษา พบว่า ศิลปกรรมท้องถิ่น ประกอบไปด้วยศาสนสถานที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยศิลปกรรมท้องถิ่นของแต่ละชุมชน ซึ่งนับว่าเป็นเอกลักษณ์และมีความสวยงามเฉพาะตัว ในส่วนขององค์พระปฐมเจดีย์นั้นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงบูรณะให้สง่างาม เพื่อเป็นที่เคารพสักการะบูชา และเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ปัจจุบันสภาพวัดวาอารามมีปัญหาสำคัญ คือ สภาพศาสนสถานที่เสื่อมโทรม เพราะการเสื่อมสลายจากการกระทำที่เกิดจากกาลเวลา มนุษย์ และธรรมชาติ ทำให้สภาพศาสนสถานมีการผุพัง
            แนวทางการอนุรักษ์ที่สำคัญ คือ การนำหลักธรรมหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 และหลักธรรมไตรลักษณ์มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาและเพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ศิลปกรรมท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนตระหนักในคุณค่าและความสำคัญในการอนุรักษ์ศิลปกรรมท้องถิ่น ซึ่งทำให้เห็นถึงความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม อันสร้างความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง
 คำสำคัญภาษาไทย พระพุทธศาสนา ศิลปกรรมท้องถิ่น การอนุรักษ์
 Abstract
This academic article aims to study Buddhist concepts and local arts conservation of local art Including guidelines for applying Buddhist principles for the conservation of local art By adopting Sangkhahavatthu 4 principle, which is the fair which is an anchor to each other, namely Than Piyawat, Attitaya and Samanatta, with emphasis on promoting sacrifice. Or generous sharing for the benefit of others To build good human relations to happen Including promoting the conservation of local art To remain in suitable conditions and to maintain the way of life of the local people to be equal and equal. abundant And live together with suffering and happiness Solve problems together
The results of the study showed that local art It consists of religious places that have been created with local arts of each community. Which is considered to be unique In the part of the Phra Pathom Chedi of King Mongkut, King Rama IV has been restored to its elegance to worship and to promote the prosperity of Buddhism Currently, the condition of temples has a significant problem, namely the degradation of religious places Because of the deterioration of actions caused by time, human beings and nature, the state of the place of worship has decayed
The important conservation approach is the application of the Sangkhahavatthu 4 principle and the three written principles in solving problems and as a guideline for the conservation of local art To make people aware of the value and importance in the conservation of local art. Which makes it important to the lifestyle of the local people Especially the foundations of ethics, morality and values ​​that build pride in their local community.
 Keyword Buddhism, Local art, Conservation
 กลุ่มของบทความ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิชาการ
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564