รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์
ชื่อบทความภาษาไทย |
รูปแบบบทความสำหรับการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการโดยใช้ลีนในผู้ป่วยนอกทางทันตกรรม เพื่อรองรับรูปแบบปกติใหม่ (New Normal) ของโรงพยาบาลทันตกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
EFFECTIVENESS INCREMENT BY LEAN PROCESS IN DENTAL OUT-PATIENT SERVICE FOR SUPPORTING NEW NORMAL WAY OF DENTAL HOSPITAL, KHON KAEN UNIVERSITY |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
นางสาวกนกวรรณ วงศ์อินทร์อยู่ , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
kanokwan wonginyoo , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยนอกทางทันตกรรม โรงพยาบาลทันตกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) หาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยนอกทางทันตกรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง 435 คน เครื่องมือการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์และแบบบันทึกระยะเวลารอคอย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที่มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ไม่เป็นอิสระต่อกัน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริการใหม่มีผลทำให้ลดความสูญเปล่าของขั้นตอนจาก 5 ขั้นตอน เหลือ 4 ขั้นตอน ทำให้เวลาการใช้บริการลดลง 2) ความพึงพอใจคุณภาพของบริการที่รวดเร็วขึ้นค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจต่อบริการของผู้ป่วยนอกทางทันตกรรมฯ ก่อนและหลัง การพัฒนามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ระยะเวลาของกระบวนการที่ใช้บริการ เวลาที่ให้คุณค่าที่สั้นที่สุด 55 นาที ยาวที่สุด 60 นาที และวงรอบเวลาทั้งหมด เวลาที่ให้คุณค่าที่สั้นที่สุด 65 นาที ยาวที่สุด 81 นาที |
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ประสิทธิภาพ, ลีน, รูปแบบปกติใหม่, บริการผู้ป่วยนอก, โรงพยาบาลทันตกรรม |
Abstract |
This research aims to 1) study dental out-patient service pattern of dental hospital, Khon Kaen University, 2) search for invention to promote effectiveness of dental out-patient service. This research was a research and development (R&D) by using quasi-experimental study with one group of sample by measuring value of pre-and-post experiment. The samples were 435 persons. Research tools were online questionnaire and waiting time recorder, analyzed data with frequency, percentage, average, standard deviation, and dependent group T-test (pair T-test), The significant was defined as 0.05. The result showed 1) the new service reduced the wasted step from 5 to 4 steps process, resulted in service time is reduced, 2) the average score of out-patient’s satisfactory among the new service process, comparing with the old one was significantly different (P = 0.05), 3) the process time (PT) was shortest 55 minutes and longest 60 minutes, and the total-turn-around time (TAT) was shortest 65 minutes and longest 81 minutes. |
Keyword |
service’s waiting time, patient’s satisfactory, dental out patient |
กลุ่มของบทความ |
บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
8 - 9 กรกฎาคม 2564 |
|
|