รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนาประสิทธิภาพระบบการจัดส่งยารูปแบบความปกติใหม่(New Normal) ของหน่วยเภสัชกรรม โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิค 19
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) THE DEVELOPMENT IN EFFECTIVENESS OF TELEMEDICINE IN NEW NORMAL TREND OF PHARMACY UNIT OF DENTAL HOSPITAL, FACULTY OF DENTISTRY, KHON KAEN UNIVERSITY DURING THE PANDAMIC OF COVID-19
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวหนึ่งหทัย อภิพัตฐ์กานต์ ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Neunghathai Aphiphatkan ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบการจัดส่งยาทางไปรษณีย์สำหรับผู้ป่วยปวดใบหน้าช่องปากเรื้อรังและโรคทางเวชศาสตร์ช่องปากในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโคโรนา 2019 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ 3) เพื่อศึกษาพึงพอใจของผู้ป่วยปวดใบหน้าช่องปากเรื้อรังและโรคทางเวชศาสตร์ช่องปากต่อการบริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้เครื่องมือ แบบบันทึกขั้นตอนการส่งยาและแบบประเมินความพึงพอใจ  มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเจาะจง คือ ผู้ป่วยทั้งหมดจากคลินิกปวดใบหน้าและเวชศาสตร์ช่องปาก จำนวน 206 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
            พบว่า ผู้ป่วยทั้งสิ้น 206 ราย ทันตแพทย์พิจารณาให้ยาทางไปรษณีย์ 179 ราย เพศหญิง 162 ราย สิทธิข้าราชการ 86 ราย  เป็นผู้ป่วยที่มีความปวดใบหน้าช่องปากเรื้อรัง 121 ราย และโรคทางเวชศาสตร์ช่องปาก 85 ราย  ระยะเวลาดำเนินการเฉลี่ย 4.97 วัน ระยะเวลาดำเนินการเฉลี่ยเร็วที่สุดคือ 4 วัน (ร้อยละ 41.90) ความพึงพอใจต่อระบบการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 96.65 การศึกษานี้แสดงถึงประสิทธิภาพการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ ที่สามารถเพิ่มช่องทางการรับการรักษาและรับยาของผู้ป่วย ลดความแออัดในการรับบริการ ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนา 2019 และยังเป็นการเพิ่มความร่วมมือในการรักษา ร่วมทั้งสามารถตอบโจทย์วิถีการดำรงชีวิตในยุครูปแบบความปกติใหม่ได้
 คำสำคัญภาษาไทย จัดส่งยาทางไปรษณีย์, เชื้อโคโรนาไวรัส 2019, โรงพยาบาลทันตกรรม
 Abstract
This study aims 1) to develop the telemedicine system for chronic orofacial pain and oral medicine during the pandemic of COVID-19 2) to study the effectiveness of the telemedicine system 3) to study patient’s satisfaction of the telemedicine. The study was quantitative research, used the work process record form and questionnaire as the research tools. The samples were selected with subjective sampling, consisted of 206 patients of chronic orofacial pain and oral medicine clinic. The data were analyzed with descriptive statistics, including; frequency, percentage, mean, and standard deviation.
            The results showed that according to 206 patients were considered prescribing home medication 179 persons, and were 162 females. Most of them have government officer’s welfare, as 86 persons. The samples were under the treatment on Orofacial pain as 121 persons, and on oral medicine as 85 persons. The patient’s satisfactions were highest satisfied for 96.65 percent. The study indicated that the telemedicine was effective in increasing patients care channel, reducing overcrowding of hospital’s patients, decreasing the risk of COVID-19 infection, and promoting patient’s compliance that supports new normal way. 
 Keyword Telemedicine, Coronavirus Disease 2019, Dental Hospital
 กลุ่มของบทความ บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564