รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ทุนทางสังคม: ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถ ในการป้องกันอาชญากรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Social capital: policy recommendation to promote the capability of crime prevention of local administrative organizations
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.ดร.สัณหกฤษณ์ บุญช่วย ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Sunhakrisana Boonchuay ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมขีดความสามารในการป้องกันอาชญากรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านการใช้ทุนทางสังคม  จากการศึกษางานวิจัย งานวิชาการ และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ในปัจจุบันแนวนโยบายเพื่อการป้องกันอาชญากรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมุ่งไปที่แนวนโยบายที่สร้างโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ เช่น การติดตั้ง CCTV หรือการวางระบบด้วยตนเอง  เช่น การพัฒนาศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ และแม้มีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หากแต่ปัจจัยที่ขาดเสียไม่ได้คือการมีส่วนร่วมของประชาชนและบรรทัดฐานทางสังคม  ด้วยเหตุนี้ ทุนทางสังคมที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดความร่วมมือ การมีส่วนร่วมทางสังคม และการสร้างบรรทัดฐานร่วม   อีกทั้ง ยังมีงานศึกษาจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่าทุนทางสังคมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานบนฐานความร่วมมือ  และลดอัตราการเกิดอาชญากรรมจากการเพิ่มขึ้นของการตรวจสอบในสังคมผ่านบรรทัดฐานร่วมทางสังคมจึงกลายเป็นปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเพิ่มขีดความสามารถเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว  กระนั้นบทความนี้จึงได้นำเสนอแนวทางในการประกอบสร้างแนวนโยบายรูปแบบใหม่อันจะส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของทุนทางสังคมที่เป็นดั่งการวางโครงสร้างพื้นฐานและระบบทางสังคมที่ไม่ใช่ทางกายภาพเช่นเคยเพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันอาชญากรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 
 
 คำสำคัญภาษาไทย ทุนทางสังคม, การป้องกันอาชญากรรม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, นโยบาย
 Abstract
This article has an objective to make policy recommendation to promote the capability of crime prevention of local administrative organizations through utilization of social capital. From studies of research, academic works and corresponding thesis, it can be found that nowadays, policy guidelines for crime prevention in local administrative organizations are headed towards policy guidelines to construct physical infrastructure such as CCTV installation or self-system installation, for example, development of complaint center. And even though there are various factors that affect the capability of local administrative organizations, but the factors that cannot be left out are civil participation and social norms, that is why social capital is the factor that can result in participation, social participation and joint building of norms. Moreover, there are many other studies that show that social capital can contribute to increase efficiency in work based on cooperation, and to crime reduction due to augmentation of surveillance within the society through joint social norms, therefore it is an inevitable factor to increase the capability in order to achieve such goal. As a result, this article presents guidelines to build new-model policies that will result in social capital increment, which is like laying out milestones and social system that are not physical like before in order to increase the capability of crime prevention of local administrative organizations.
 Keyword social capital, crime prevention, local administrative organizations, policy
 กลุ่มของบทความ อาเซียนศึกษา และการระหว่างประเทศ
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิชาการ
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564